ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 สามารถใช้สิทธิ์ ตรวจสุขภาพประจำปี ประกันสังคม ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ทั้งที่โรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมโครงการของสำนักงานประกันสังคม การตรวจสุขภาพเป็นสิ่งที่ทุกคนควรทำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพราะสุขภาพร่างกายเป็นเรื่องสำคัญและมองข้ามไม่ได้ เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ดังนั้น คุณควรเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อตรวจสอบความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกาย รวมไปถึงการประเมินความเสี่ยง คัดกรองโรค และการวางแนวทางป้องกันและรักษาโรคด้วย
เอกสารสำคัญในการเข้ารับ ตรวจสุขภาพประจำปี ประกันสังคม
หากเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 ตามเงื่อนไขของสำนักงานประกันสังคมอยู่แล้ว ในการตรวจสุขภาพประจำปี ผู้ประกันตนไม่ต้องเตรียมเอกสารอะไรให้วุ่นวาย เพียงแค่นำบัตรประชาชนมาแสดง ก็สามารถรับสิทธิ์ตรวจสุขภาพประจำปีได้เลย โดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่าย อีกทั้งผู้ประกันตนยังสามารถเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีได้ที่โรงพยาบาลรัฐ และโรงพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมกับสำนักงานประกันสังคม ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป
ตรวจสุขภาพประจำปี ประกันสังคม ตรวจอะไรบ้าง ดูได้เลย
ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 สามารถตรวจสุขภาพในรายการพื้นฐานและตรวจคัดกรอง เพื่อป้องกันโรคได้ทั้งหมด 14 รายการ ดังนี้
- ตรวจคัดกรองการได้ยิน Finger Rub Test
- ตรวจเต้านม และสอนการตรวจเต้านมด้วยตัวเอง
- ตรวจตา คัดกรองความผิดปกติและค้นหาโรคทางสายตา
- ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด CBC
- ตรวจปัสสาวะ UA
- ตรวจน้ำตาลในเลือด FBS
- ตรวจการทำงานของไต Cr และ eGFR
- ตรวจไขมันในเลือดชนิด Total cholesterol & HDL cholesterol
- ตรวจเชื้อไวรัสตับอักเสบ HBsAg
- ตรวจมะเร็งปากมดลูก Pap Smear
- ตรวจมะเร็งปากมดลูก Via
- ตรวจ HPV DNA TEST ชนิด 2 สายพันธุ์ และ 14 สายพันธุ์
- ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง FIT TEST
- เอกซเรย์ปอด Chest X-ray
14 รายการที่พวกเรากล่าวมานั้น ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการตรวจสุขภาพตามสิทธิ์ได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
คำแนะนำการเตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพประจำปี ประกันสังคม
- พักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
- งดอาหารและเครื่องดื่ม อย่างน้อย 8-10 ชั่วโมงก่อนการตรวจสุขภาพ (สามารถจิบน้ำเปล่าได้เล็กน้อย)
- งดดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 24-48 ชั่วโมง
- ควรสวมเสื้อผ้าที่สะดวกต่อการตรวจสุขภาพและการเจาะเลือด
- ผู้หญิง ไม่ควรอยู่ในช่วงก่อนและหลังมีประจำเดือน 7 วัน หากมีประจำเดือนให้งดตรวจปัสสาวะ เพราะเลือดจะปนเปื้อนในปัสสาวะ มีผลต่อการแปลผลการตรวจ
- การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเอกซเรย์เต้านม (Mammogram) หลีกเลี่ยงการตรวจในช่วงมีประจำเดือน ซึ่งเต้านมมีความคัดตึง ควรตรวจหลังมีประจำเดือน
- กรณีสงสัยว่าตั้งครรภ์ โปรดแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบเพื่องดตรวจเอกซเรย์
- หากมีโรคประจำตัวหรือประวัติสุขภาพอื่น ๆ กรุณานำผลการตรวจหรือรายงานจากแพทย์มาด้วยเพื่อประกอบการวินิจฉัย
ตรวจสุขภาพประจำปี ประกันสังคม คือสิทธิที่ผู้ประกันตนต้องให้ความสนใจด้วยเช่นกัน เพื่อไม่ให้เสียสิทธิประกันสังคมไปโดยเปล่าประโยชน์ เพราะสุขภาพของเราคือเรื่องสำคัญ การตรวจสุขภาพจะช่วยให้คุณตระหนักรู้ได้ทันท่วงที ค้นหาโรคได้ตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มต้น เพื่อวางแผนในการดูแลสุขภาพของคุณได้อย่างเหมาะสม
Website : สาระน่ารู้