การครอบครองปรปักษ์ ข้อกฏหมายที่ควรรู้ ก่อนเสีย ทรัพย์สิน

การครอบครองปรปักษ์ ข้อกฏหมายที่ควรรู้ ก่อนเสีย ทรัพย์สิน การที่เราจะเป็นเจ้าของ ที่ดิน สักผืนหนึ่ง อาจฟังแล้วรู้สึกดี เพราะเรามีสิทธิ์ในพื้นที่ทุกตารางนิ้ว ซึ่งมันก็คงจะจบที่เราจ่ายเงิน แล้วได้ครอบครองกรรมสิทธิ์ แต่ถ้าเราซื้อแล้วปล่อยไว้โล่ง ๆ แบบนั้น และ ไม่มีการทำอะไรในพื้นที่นั้นแถมไม่ได้เข้าไปดูอีกด้วย จนมารู้ทีหลังว่ามีคนอื่นเข้าไปในพื้นที่ จะบอกว่าบุคคลที่ลักลอบเข้าไปสามารถขอ ครอบครองปรปักษ์ เพื่อเป็นเจ้าของแทนที่เราได้ด้วย หากสงสัยว่ามันจะเป็นอย่างนั้นได้ยังไง ต้องศึกษา กฎหมายควรรู้เกี่ยวกับการครอบครองปรปักษ์ ติดตัวไว้

การครอบครองปรปักษ์ ข้อกฏหมายที่ควรรู้ ก่อนเสีย ทรัพย์สิน คืออะไร?

ความหมายของ การ ครอบครองปรปักษ์ ตามมาตรา 1382 แบบสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจง่ายก็คือ การที่บุคคลหนึ่ง เข้าไปทำประโยชน์ในพื้นที่ของอีกบุคคลหนึ่ง โดยที่เจ้าของรับรู้แล้วไม่ได้ถูกคัดค้าน , โต้แย้ง หรือ ถูกขับไล่ตลอดระยะเวลา 10 ปี (กรณีอสังหาริมทรัพย์) หรือตลอดระยะเวลา 5 ปี (กรณีสังหาริมทรัพย์) ก็จะทำให้บุคคลนั้นสามารถขอ ครอบครองกรรมสิทธิ์ ได้ทันที

ความแตกต่างระหว่างผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์ และ ผู้ครอบครองปรปักษ์ การครอบครองปรปักษ์

ผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์ หมายถึง ผู้ที่ได้รับการออกชื่อใน โฉนดที่ดิน ว่าเป็นเจ้าของพื้นที่ เมื่อมีบุคคลอื่น เข้ามาอยู่ในพื้นที่แบบไม่ได้หลบซ่อน และ เจ้าของพื้นที่ก็รับรู้มาโดยตลอด บุคคลนั้นก็สามารถขอกรรมสิทธิ์ เพื่อเป็นเจ้าของใหม่แทนได้ หากเจ้าของพื้นที่ไม่ได้มีการว่ากล่าวตั้งแต่แรก ก็จะไม่สามารถโต้เถียงในข้อนี้ได้ และ ถ้าหากยื่นฟ้องก็จะกลายเป็นผลเสียมากกว่า

ผู้ครอบครองปรปักษ์ หมายถึง การที่บุคคลหนึ่งเข้าไปยังพื้นที่ของอีกบุคคลหนึ่ง เช่น การอยู่อาศัย หรือทำประโยชน์อย่างเปิดเผย และ ไร้ข้อพิพาทภายในระยะเวลาที่กำหนดก็จะสามารถยื่น ครอบครองปรปักษ์ เพื่อเป็นเจ้าของได้ แต่ ที่ดิน นั้นต้องมีการออก โฉนดที่ดิน แล้ว ถึงแม้ว่าจะอยู่มาเกิน 10 ปี แต่ถ้า โฉนดที่ดิน ถูกออกมาภายหลังจะไม่สามารถยื่นขอได้

ทำไมจึงต้องมีกฎหมายครอบครองปรปักษ์?

คำถามว่า ทำไมจึงต้องมีกฎหมายครอบครองปรปักษ์? นั่นก็เป็นเพราะว่ามันเคยเกิดเหตุการณ์ที่มีการกว้านซื้อ ที่ดิน แล้วไม่ได้ทำประโยชน์อันใด แล้วก็ไม่มีการจ่ายภาษี ดังนั้น กฎหมายครอบครองปรปักษ์ จึงมีขึ้นเพื่อ ที่ดิน จะได้ใช้ประโยชน์ และ เอื้ออำนวยสิทธิ์สำหรับผู้ทำประโยชน์ในพื้นที่ด้วย

หลักเกณฑ์ 7 ข้อในการยื่น ครอบครองปรปักษ์

  1. อสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ต้องเป็นของผู้อื่น เพราะเราไม่สามารถ ครอบครองปรปักษ์ ในทรัพย์สินของตนเองได้
  2. อสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ต้องมีกรรมสิทธิ์ เช่น ที่ดิน ก็จะต้องมีการออก โฉนดที่ดิน อย่างชัดเจนว่าใครเป็นเจ้าของ และ ที่ดิน ผืนนั้นต้องไม่เป็นของหลวง หรือที่ธรณีสงฆ์
  3. ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ด้วยความสงบ กล่าวง่าย ๆ คือ ไม่มีการทะเลาะวิวาท หรือถูกขับไล่จากเจ้าของพื้นที่ เพราะถ้าหากมีจะไม่สามารถยื่นขอ ครอบครองปรปักษ์ ได้
  4. ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์อย่างเปิดเผย เป็นการทำประโยชน์ในพื้นที่ ที่มีบุคคลอื่นรับรู้ ไม่ใช่การเข้าใช้พื้นที่อย่างหลบ ๆ ซ่อน ๆ
  5. ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์โดยเจตนาเป็นเจ้าของ เช่น การครอบครอง ที่ดิน มรดก โดยทายาทคนใดคนหนึ่งจะต้องบอกกับทายาทคนอื่น ๆ ว่าเจตนายึดถือเป็นของตนเอง
  6. ระยะเวลาในการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะนับตั้งแต่วันที่ได้รับการออก โฉนดที่ดิน ภายในเวลา 10 ปี เมื่อครบ 10 ปี จะสามารถยื่นขอ ครอบครองปรปักษ์ ได้
  7. ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ด้วยความสุจริต แปลว่า จะต้องเข้ามาอยู่อย่างเปิดเผย ไม่ได้มีเจตนาที่จะโกงเจ้าของพื้นที่

ทำอย่างไรเมื่อเกิดกรณีครอบครองปรปักษ์?

เจ้าของพื้นที่หลายคน อาจเคยเจอกับเหตุการณ์เหล่านี้ แต่ยังไม่รู้ว่าจะรับมือยังไง หรือ บางคนก็อาจจะคิดว่าทำอะไรไม่ได้แล้วก็ปล่อยเลยตามเลย แต่จริง ๆ แล้วถ้าหาก เกิดกรณีครอบครองปรปักษ์ ขึ้นมา เจ้าของพื้นที่ สามารถยื่นฟ้องขอกรรมสิทธิ์คืนได้ภายใน 1 ปี แต่ผลที่จะได้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของศาลว่า ฝ่ายไหนที่ สามารถทำประโยชน์จากพื้นที่นี้ได้มากกว่ากัน ดังนั้น ถ้าไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์ขึ้น เจ้าของพื้นที่จะต้องเข้าไปสำรวจพื้นที่ ของตัวเองบ่อย ๆ เพื่อให้แน่ใจ ว่ามีบุคคลอื่นเข้ามาใช้สอยในพื้นที่หรือไม่ หากพบเห็นสามารถแจ้งให้ออกจากพื้นที่ได้เลย นอกจากนี้ควรจะต้องให้ทางสำนักงานเขตมารังวัด จัดการพื้นที่ให้ชัดเจน และต้องจ่ายภาษีเพื่อแสดงให้รู้ว่า ที่ดิน ผืนนี้ยังมีการทำประโยชน์อยู่