อาการของโรคซึมเศร้า รู้หรือไม่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าใช้สิทธิ์รักษาฟรีของประกันสังคมได้แล้ว จากสภาวะความตึงเครียดที่คนเราต้องเผชิญในทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นการจราจรที่ติดขัด, ภาวะการเรียนที่หนักเกินความจำเป็น หรือความไม่สมดุลของเวลาในการทำงาน เมื่อมันสะสมหนัก ๆ ก็จะทำให้เกิดความเครียด แล้วนำไปสู่ความผิดปกติด้านความคิด, พฤติกรรม, ความรู้สึก ไม่ว่าจะเป็นวัยไหน ก็มีโอกาสที่จะเป็น โรคซึมเศร้า ได้ และ อาการของโรคซึมเศร้า รู้หรือไม่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าใช้สิทธิ์รักษาฟรีของประกันสังคมได้แล้ว
อาการของโรคซึมเศร้า
อาการของโรคซึมเศร้า ไม่ใช่อาการป่วยทางกายทั่วไปเหมือนไข้หวัด ที่มีอาการของโรคเพียงชั่วครู่แล้วก็หาย แต่ผู้ป่วยที่เกิดอาการนี้ก็เนื่องจากสารเคมีในสมองผิดปกติ บางอย่างที่กระทบจิตใจแม้เพียงเล็กน้อย ก็อาจทำให้ผู้ป่วยไม่อยากมีชีวิตอยู่ นอกจากนี้ผู้ป่วยที่เคยเป็น โรคซึมเศร้า มาแล้ว ก็มีโอกาสที่จะกลับไปเป็นอีกครั้งหนึ่ง ถ้าใครเคยมีความรู้สึกเศร้าตลอดเวลา, ขี้หงุดหงิด, เฉื่อยชา, นอนไม่หลับ, ไม่อยากอาหาร, คิดสั้น ฯลฯ ให้ลองทำ แบบทดสอบภาวะซึมเศร้า ว่าเข้าข่ายหรือไม่ หรือสามารถไปพบจิตแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา
ภาวะซึมเศร้าในแต่ละวัย
- วัยเด็ก อาจจะรู้สึกเศร้ากับเรื่องเล็ก ๆ, ไม่อยากพบเจอใคร, ขี้รำคาญ, หงุดหงิดง่าย หรือไม่อยากไปโรงเรียน
- วัยรุ่น จะมีอาการเศร้าเช่นเดียวกัน แต่มักจะมองโลกในแง่ร้าย และคิดว่าตัวเองอยู่เพียงลำพัง ในบางรายอาจมีใช้สารเสพติด และอาจหนักถึงขั้นทำร้ายตัวเอง
- วัยชรา เป็นวัยที่น่าห่วงไม่แพ้วัยรุ่น เพราะยิ่งอายุมากก็จะมีโรคมาก เช่น มีการเจ็บปวดตามร่างกาย, ความจำถอยหลัง, นอนไม่หลับ หรือรู้สึกไม่อยากมีชีวิตอยู่
ปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคซึมเศร้า
ปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคซึมเศร้า มีอยู่ด้วยกันหลายปัจจัยทั้งด้านนิสัย หรือเหตุการณ์ที่ประสบมา เช่น การมองโลกในแง่ร้าย, การถูกทำร้ายร่างกาย, ถูกทารุณกรรม, การล่วงละเมิดทางเพศ, การสูญเสียคนที่รัก, ปัญหาด้านการเงิน, คนรอบข้างไม่ยอมรับ, มีความวิตกกังวล, ติดสุรา หรือมีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง ถ้าหากไม่ได้รับคำปรึกษา หรือได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจจะช่วยผู้ป่วยไม่ทัน
การป้องกันโรคซึมเศร้า
การป้องกันโรคซึมเศร้า อาจจะไม่มีวิธีที่แน่นอน เพราะแต่ละคนก็มีอาการของโรคที่ต่างกัน ดังนั้น หากใครที่รู้สึกตัวว่ากำลังจะเป็น โรคซึมเศร้า หรือว่าเป็นอยู่แล้ว ให้พยายามพูดคุยกับคนที่สนิท และไว้ใจได้ เพื่อเป็นการระบายความรู้สึก หรือไม่ก็หากิจกรรมที่ชอบทำฆ่าเวลา จะได้โฟกัสไปยังสิ่งที่ทำอยู่ แต่ถ้ารู้สึกว่ามันหนักจนไม่ไหวให้ไปพบจิตแพทย์ เพื่อทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง และต้องไม่ลืมกินยาตามแพทย์สั่ง ส่วนราคาในการรักษาก็จะแตกต่างกันไปตามสถานที่ ซึ่งในส่วนนี้อาจเป็นปัญหาหนึ่งกับผู้ป่วยเหมือนกัน แต่ถ้าใครที่ส่ง ประกันสังคม อยู่ และเป็น โรคซึมเศร้า ก็สามารถ ใช้สิทธิ์รักษาฟรีของประกันสังคมได้
การใช้สิทธิ์รักษาฟรีของประกันสังคม
นอกจาก โรคซึมเศร้า แล้ว ประกันสังคม ยังครอบคลุมไปถึง โรคจิตเวช อื่น ๆ เช่น ไบโพลาร์, สมองเสื่อม, แพนิก ซึ่ง ผู้ประกันตน สามารถ ใช้สิทธิ์รักษาฟรี ได้ที่โรงพยาบาลตามสิทธิ์ แต่ถ้าโรงพยาบาลไม่สามารถรักษาให้ได้ ผู้ประกันตน จะถูกส่งตัวไปยังโรงพยาบาลที่มีการดูแลในด้านนี้ให้ โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง
วิธีการตรวจสอบวิธีการตรวจสอบสิทธิ์
วิธีการตรวจสอบโรงพยาบาลตามสิทธิ์ สามารถทำได้ ดังนี้
- ลงทะเบียนผ่านช่องทาง Line Application: https://bit.ly/linessothai
- ติดต่อสายด่วน 1506
- ศึกษาข้อมูลทางเว็บไซต์ www.sso.go.th
นอกจากผู้ประกันตนแล้วมีใครสามารถใช้สิทธิ์นี้ได้อีก?
นอกจากผู้ประกันตนแล้ว ผู้ถือ บัตรทอง ก็สามารถใช้ได้ เพราะ โรคจิตเวช นับเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับสุขภาพจิต และควรไปพบจิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยา ส่วน การตรวจสอบสิทธิ์ ให้โทรไปได้ที่ สายด่วน สปสช. 1330 โดยจะเป็นระบบอัตโนมัติ ให้เรากดหมายเลข 2 และกดเลขบัตรประชาชน จากนั้นระบบก็จะตรวจสอบว่ามีสิทธิ์หรือไม่ ถ้ามีระบบก็จะแจ้งชื่อหน่วยงานบริการประจำใกล้บ้านให้ทราบ ซึ่งในส่วนของ ข้าราชการ ก็สามารถรักษาได้รวมถึงครอบครัวด้วยโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และ ตรวจสอบสิทธิ์ ได้ที่กรมบัญชีกลาง โดยติดต่อเลขหมาย 021277000 หรือถ้าใครอยากจะลองประเมินดูก่อน สามารถโทรไปได้ที่ สายด่วนสุขภาพจิต 1323