ทอนซิลอักเสบ โรคยอดฮิตเป็นได้ทุกเพศทุกวัย อาการเจ็บคอสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นเวลาปกติ หรือแม้แต่เวลาที่กลืนน้ำลาย ถ้าหากอาการนี้เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ก็คงเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยน่าเป็นห่วงเท่าไหร่ เพราะมันสามารถหายไปได้เอง แต่ถ้าอาการนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่านั่นอาจเป็นสัญญาณของ ทอนซิลอักเสบโรคยอดฮิตเป็นได้ทุกเพศทุกวัย ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากเชื้อไวรัสแบคทีเรียที่ชื่อว่า สเตร็ปโตคอกคัส (ชนิดเอ) นอกจากนี้สายพันธุ์อื่น ๆ ก็สามารถก่อให้เกิดโรคได้เช่นกัน
ปัจจัยที่จะทำให้เกิดอาการต่อม ทอนซิลอักเสบ
- ช่วงอายุ พบได้ในเด็กที่มีอายุในช่วง 5 ปี – 15 ปี
- การสัมผัสเชื้อโรค พบได้บ่อยในเด็กวัยเรียน เพราะมีการสัมผัสกันอยู่ตลอด ทำให้เกิดการติดเชื้อ
- เกิดจากภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อ, การเกิดหนอง หรือการหยุดหายใจในขณะหลับ
วิธีการป้องกันไม่ให้เกิดโรคต่อม ทอนซิลอักเสบ
- ล้างมือทุกครั้งก่อนกินข้าว และทุกครั้งที่เข้าห้องน้ำ
- แยกการใช้ของส่วนตัวแต่ละบุคคล เช่น จาน, ชาม, ช้อน, ส้อม, แปรงสีฟัน ฯลฯ
- เมื่อพบอาการทอนซิลอักเสบ ให้ทำการเปลี่ยนแปรงสีฟันทุกครั้ง
- หาอุปกรณ์ป้องปากเมื่อไอ หรือจาม
- ไม่เดินทางออกนอกบ้านเมื่อเป็นทอนซิลอักเสบ ควรจะอยู่พักผ่อนที่บ้าน
การรักษาทอนซิลอักเสบ
ปกติแล้ว การรักษาทอนซิลอักเสบ สามารถรักษาได้ด้วยการพักผ่อนเพื่อบรรเทาอาการ ซึ่งมันสามารถหายได้ภายในเวลา 7 – 10 วัน โดยไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ หากผู้ป่วยเป็นเด็กก็จะต้องปฏิบัติตัว ดังนี้
- พยายามให้นอนพักผ่อนอย่างเพียงพอ
- วางดื่มน้ำไว้ใกล้ ๆ จะได้ดื่มได้บ่อยขึ้นเพื่อคอจะได้มีความชุ่มชื้น
- บรรเทาอาการเจ็บคอด้วยน้ำอุ่น ซึ่งอาจผสมน้ำผึ้งเข้าไป หรืออาจกินแบบซุป / น้ำแกงด้วยได้ และต้องกลั้วคอด้วยน้ำเกลือ
- หากมีเครื่องทำความชื้น แนะนำให้เปิดเพื่อปรับอากาศ
- เลี่ยงการสูดดมกลิ่นที่ทำให้ระคายคอ เช่น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด หรือกลิ่นบุหรี่
- ปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาปฏิชีวนะ และควรกินให้ครบตามคำสั่งป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อน
การผ่าตัดต่อมทอนซิล
อาการของต่อมทอนซิล ที่ไม่รุนแรงสามารถหายได้เอง แต่ในผู้ป่วยที่ลองทำตามวิธีต่าง ๆ ข้างต้นก็ยังไม่ดีขึ้น ถ้าไปพบแพทย์แล้วได้รับการวินิจฉัยว่าต้องทำ การผ่าตัดต่อมทอนซิล เนื่องจากไม่ตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะ และมีอาการเรื้อรัง ไม่ว่าจะเป็นการเกิดอาการของโรคอย่างน้อย 7 ครั้ง / ปี หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจส่งผลกับการใช้ชีวิต เช่น การกลืน / การหายใจที่ยากลำบาก, ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ, การเกิดหนอง ฯลฯ ทั้งนี้ก็ต้องดูอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยว่าต้องพบแพทย์เฉพาะทางหรือไม่ ซึ่งการรักษาในอดีตจะนิยมวิธีนี้กันมาก แต่ในปัจจุบันไม่ค่อยพบเจอมากนัก เว้นแต่ว่าผู้ป่วยจะเกิดอาการซ้ำ ๆ จึงต้องทำการรักษาด้วย การผ่าตัดต่อมทอนซิล
อาหารต้องห้ามสำหรับผู้มีอาการต่อมทอนซิลอักเสบ
- ผลไม้รสเปรี้ยวจัด เช่น มะม่วง, มะยม, มะดัน เพราะจะทำให้ความร้อนในร่างกายสูงขึ้น ส่งผลให้ เนื้อเยื่ออักเสบ และเสมหะกับหนองจะข้นหนักกว่าเก่า
- อาหารเค็มจัด เช่น เกลือ, น้ำปลาพริก, ของดองเค็ม เพราะมีโซเดียมสูงที่ทำให้เลือดข้น แผลหายช้า และเซลล์เกิดการอักเสบ
- อาหารเผ็ด เช่น ส้มตำ หรือยำต่าง ๆ จะทำให้แผลหายได้ช้า ส่วนการอักเสบจะหนักขึ้น
- ผักที่มีกลิ่นฉุน / อาหารทะเล เนื่องจากมีกรดยูริกสูงจึงทำให้เกิดการอักเสบ
- เนื้อสัตว์ย่อยยาก เช่น วัว, เป็ด, แกะ เมื่อร่างกายมีความร้อนมากขึ้น จะทำให้แผลหายช้า
ทางเลือกที่นำเสนอไปเป็นความรู้เบื้องต้น ที่ทุกคนสามารถไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ หากใครที่เกิดอาการ ต่อมทอนซิลอักเสบ ก็สามารถนำวิธีข้างต้นไปปรับใช้ให้เหมาะสมได้เลย ส่วนอาหารการกินก็ให้เลี่ยงสิ่งต้องห้ามไปก่อนสักระยะ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องไปถึงขั้น การผ่าตัดต่อมทอนซิล ทั้งนี้หากมีอาการแทรกซ้อนให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที