เทคนิคลดหย่อนภาษีเงินได้จากดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน

เทคนิคลดหย่อนภาษีเงินได้จากดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน สำหรับผู้ที่มีภาระในการผ่อนรถ หรือเป็นบ้าน หากมีรายจ่ายที่สวนกับรายรับก็เชื่อได้ว่ามันน่าจะกลายเป็นภาระที่หนักอึ้ง โดยเฉพาะเรื่องการผ่อนบ้านที่ต้องบอกว่ามีราคาค่อนข้างสูง ต่างกันแค่ว่าใครจะเลือกซื้อบ้านแบบไหน หากผู้ที่พอจะมีฐานะอาจไม่เดือดร้อนมาก แล้วก็อาจซื้อแบบเป็นเงินสดได้เลย แต่สำหรับมนุษย์เงินเดือนแล้วต้องบอกว่า ส่วนใหญ่มักจะขอสินเชื่อเพื่อความสะดวกในการมีที่อยู่อาศัย ซึ่งนโยบายนี้ทางรัฐบาลได้เสนอให้ผู้มีเงินได้ สามารถหักลดหย่อนภาษีจากดอกเบี้ยที่ชำระไปเพื่อการผ่อนบ้าน สูงสุดถึงปีละ 100,000 บาท และเราจะพาไปดู เทคนิคลดหย่อนภาษีเงินได้จากดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน ว่ามีเงื่อนไขยังไงบ้าง

เทคนิคลดหย่อนภาษีเงินได้จากดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน

เทคนิคลดหย่อนภาษีเงินได้จากดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน กฎเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาของกรมสรรพากร

กฎเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาของกรมสรรพากร โดยผู้กู้จะต้องกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินที่เชื่อถือได้ เช่น ธนาคาร,  บริษัทตามกฎหมาย, ธุรกิจหลักทรัพย์, องค์กรที่มีเงินกองทุนเป็นสวัสดิการให้แก่ลูกจ้าง, บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย, กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์, นิติบุคคลเฉพาะกิจที่จัดตั้งขึ้นเพื่อแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ส่วนใหญ่ผู้มีเงินได้จะขอสินเชื่อจากธนาคารโดยดูตามเงื่อนไข ดังนี้

  1. วัตถุประสงค์การกู้ยืม จะต้องเป็นการกู้เงินเพื่อซื้อ หรือเช่าซื้อที่พักอาศัย ไม่ว่าจะเป็นอาคารพร้อมที่ดิน, ห้องชุด หรือสร้างที่พักอาศัยในที่ดินของตัวเอง / ที่ดินที่มีสิทธิ์ครอบครอง
  2. การจดจำนอง จะต้องมีการจำนองอาคาร, ห้องชุด หรืออาคารพร้อมที่ดินเพื่อประกันการกู้ยืมเงิน ซึ่งจะต้องมีระยะเวลาในการกู้ยืม
  3. การยกเว้นภาษี จะไม่นับรวมกรณีที่เกิดอัคคีภัย, ภัยธรรมชาติ หรืออื่น ๆ ที่มิใช่ความผิดของผู้มีเงินได้จนไม่สามารถอยู่ในที่พักอาศัยได้
  4. การลดหย่อนภาษี กรมสรรพากรจะยกเว้นภาษีเงินได้ เท่าที่จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อซื้อ, เช่าซื้อ หรือสร้างที่อยู่อาศัย โดยการจำนองเพื่อเป็นการประกันกู้ยืมตามจำนวนจริง ไม่เกิน 100,000 บาท
เทคนิคลดหย่อนภาษีเงินได้จากดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน

คำถาม – คำตอบน่ารู้

Q: หากผู้มีเงินได้มีที่พักอาศัยเกิน 1 แห่ง สามารถลดหย่อนภาษีได้กี่แห่ง?

                    A: ผู้มีเงินได้สามารถขอลดหย่อนภาษีได้ทุกแห่งภายในปีนั้น

Q: จ่ายดอกเบี้ยตั้งแต่ต้นปี – ปลายปี สามารถลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่?

                   A: สามารถลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท (ตลอดปีภาษี)

Q: การลดหย่อนภาษีในกรณีจดทะเบียนสมรสพิจารณาจากอะไร?

                   A: พิจารณาจากผู้มีเงินได้ ได้รับการยกเว้นภาษีฝ่ายเดียว หรือสองฝ่าย / การยื่นแบบแสดงภาษียื่นร่วม หรือแยกกัน และการกู้ เป็นการกู้แยก หรือการกู้ร่วม แบ่งออกเป็น 5 กรณี คือ

กรณีที่ 1

ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้มีเงินได้ โดยมีการยื่นแบบแสดงรายได้ / เสียภาษีร่วมกัน และกู้ร่วมกัน โดยให้ลดหย่อนภาษีดอกเบี้ยเงินกู้ สำหรับผู้มีเงินได้เต็มจำนวนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

กรณีที่ 2

ทั้งสองฝ่ายเป็นผู้มีเงินได้ และร่วมกันกู้เพื่อที่อยู่อาศัย ในกรณีนี้จะได้รับการยกเว้นภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

กรณีที่ 3

ทั้งสองฝ่ายเป็นผู้มีเงินได้ และร่วมกันกู้เพื่อที่อยู่อาศัย แต่แยกกันยื่นแบบแสดงรายได้ และเสียภาษีแยกกัน จะได้รับการยกเว้นภาษีคนละครึ่งตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

กรณีที่ 4

ทั้งสองฝ่ายเป็นผู้มีเงินได้ แต่แยกกันกู้ และมีการยื่นแบบแสดงรายได้กับเสียภาษีร่วมกัน ฝ่ายที่ยื่นแบบแสดงรายได้ และเสียภาษี สามารถลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท และจะได้รับการยกเว้นภาษีในส่วนของสามี หรือภรรยาอีก ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

กรณีที่ 5

 ทั้งสองฝ่ายเป็นผู้มีเงินได้ แต่แยกกันยื่นแบบแสดงรายได้ และเสียภาษี และแยกกันกู้ จะทำให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการยกเว้นภาษี ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท