ในระบบของ ประกันสังคม ที่นอกเหนือจาก ประกันสังคมมาตรา 33 สำหรับคนทำงานปัจจุบัน และ ประกันสังคมมาตรา 39 ที่มีไว้สำหรับอดีตคนทำงาน ที่ยังอยากส่งเงินแบบต่อเนื่องเพื่อรักษาสิทธิ์แล้ว ก็ยังมี ประกันสังคม อีกประเภทหนึ่งที่เรียกว่า ประกันสังคม มาตรา 40 ซึ่งเป็นของคนทำงานที่ไม่ได้อยู่ในระบบบริษัท เช่น พ่อค้าแม่ขาย เป็นต้น
ประกันสังคม มาตรา 40 ต้องจ่ายเงินเท่าไหร่ ?
หาก ผู้ประกันตน มีเป็นผู้ถือสิทธิ์ใน ประกันสังคมมาตรา 39 จะต้องมีการจ่ายเงินในจำนวน 400 กว่าบาท / เดือน และถ้าถามว่า ประกันสังคมมาตรา 40 จ่ายเท่าไหร่ ? คำตอบมีให้ ผู้ประกันตน เลือก 3 แบบ คือ
1. จ่ายเงินสมทบ 70 บาท 2. จ่ายเงินสมทบ 100 บาท 3. จ่ายเงินสมทบ 300 บาท
ประกันสังคมมาตรา 40 มีสิทธิประโยชน์อะไรให้บ้าง ?
เดี๋ยวเราจะมาดูกันว่า ประกันสังคมมาตรา 40 มีสิทธิประโยชน์อะไรให้บ้าง ? โดยสิ่งที่เราได้รับมีดังนี้
1. เจ็บป่วย จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ทั้ง 3 ทางเลือก
2. ทุพพลภาพ จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ และค่าทำศพในกรณีเสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ
3. สงเคราะห์บุตร ได้รับเฉพาะการจ่ายเงินสมทบทางเลือกที่ 3
4. ชราภาพ ได้รับเฉพาะการจ่ายเงินสมทบทางเลือกที่ 2 และทางเลือกที่ 3
5. เสียชีวิต ได้รับค่าทำศพทั้ง 3 ทางเลือก
ทั้งนี้การเลือกจ่ายเงินสมทบขึ้นอยู่กับความพร้อมของ ผู้ประกันตน และมันก็จะมีผลกับ สิทธิประโยชน์ ที่จะได้รับลดหลั่นกันไปตามอัตราในการจ่ายเงินด้วย เพราะฉะนั้นต้องตัดสินใจให้ดีก่อนที่จะเลือก
ประกันสังคมมาตรา 40 ขาดส่งได้กี่เดือน ?
ใครที่มีความกังวลกลัวว่าจะลืมส่งเงิน แล้วเกิดคำถามว่า ประกันสังคมมาตรา 40 ขาดส่งได้กี่เดือน ? จริง ๆ แล้ว ประกันสังคมมาตรา 40 ไม่มีการกำหนดตายตัวว่าจะต้องจ่ายวันไหน ขอเพียงแค่จ่ายภายในเดือนอย่างสม่ำเสมอเป็นพอ แต่ถ้าหากไม่ได้ส่งเงินสมทบหลาย ๆ เดือนไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม เราจะยังคงเป็น ผู้ประกันตน เหมือนเดิมโดยไม่ถูกตัดสิทธิ์ แต่การเบิกจ่ายในความคุ้มครองต่าง ๆ จะถูกพิจารณาไปตามเกณฑ์ หรือถ้าหากไม่ได้จ่ายเงินเนื่องจากลืมก็ให้จ่ายเป็นเดือนปัจจุบันได้เลย ไม่ต้องจ่ายย้อนหลัง และถ้าใครพอจะมีเงินก้อนสำรองไว้ ก็สามารถจ่ายเงินสมทบล่วงหน้าไป 12 เดือนเลยก็ได้เช่นกัน
คุณสมบัติแบบไหนที่สามารถใช้ประกันสังคมมาตรา 40 ได้ ?
สำหรับ คุณสมบัติที่สามารถใช้ประกันสังคมมาตรา 40 ได้ มีหลักพิจารณา 7 ข้อ คือ
1. มีสัญชาติไทย แต่ถ้าไม่มีสัญชาติไทย ต้องใช้บัตรประจำตัวที่ขึ้นต้นด้วยเลข 0, 6, 7
2. มีอายุตั้งแต่ 15 – 65 ปี
3. ประกอบอาชีพอิสระ เช่น Freelance สายงานต่าง ๆ
4. ไม่มีสังกัดเป็นลูกจ้าง หรือพนักงานของบริษัทที่เป็นระบบ
5. ไม่ได้อยู่ในสถานะ ผู้ประกันตนมาตรา 39
6. ไม่ได้สังกัดข้าราชการ และรัฐวิสาหกิจ
7. เป็นผู้พิการ