ประกันสังคมประกาศขึ้นเงินสมทบ มาตรา 33 ในปี 2567 เท่าไหร่ สูงสุด 1,150

ประกันสังคมประกาศขึ้นเงินสมทบ มาตรา 33 ในปี 2567 เท่าไหร่ สูงสุด 1,150 สวัสดิการของพนักงานตามบริษัทเอกชนต่าง ๆ โดยทั่วไปมักจะได้รับสิทธิ์ ประกันสังคม ตั้งแต่ที่เริ่มเข้าทำงานเดือนแรก ส่วนใหญ่จะเป็น ประกันสังคมมาตรา 33 ที่พนักงานต้อง จ่ายเงินประกันสังคม บวกกับนายจ้างจ่ายสมทบในอัตรา 5% เท่ากันในทุกเดือน และรัฐบาลสมทบอีก 2.75% แล้วแต่ว่าพนักงานคนนั้นมีอัตราเงินเดือนเท่าใด ซึ่งการจ่ายที่สูงที่สุดในตอนนี้จะไม่เกิน 750 บาท / เดือน

ส่วนสิทธิประโยชน์ก็คือ เราจะได้รับการรักษาพยาบาลในด้านต่าง ๆ รวมไปถึงกรณีที่ว่างงาน ไม่ว่าจะเป็นการลาออกด้วยความสมัครใจ หรือการถูกจ้างให้ออก, การเสียชีวิตก็จะได้รับเงินทดแทนตามเงื่อนไขที่ ประกันสังคม กำหนด

ข่าวล่าสุดที่น่าสนใจก็คือ ประกันสังคมประกาศขึ้นเงินสมทบ มาตรา 33 ในปี 2567 นับว่าเป็นปัญหาสำหรับผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง แล้วไม่เคยได้ใช้หลักประกันสุขภาพตัวนี้ เพราะคิดว่าการเสียงเงินจำนวนนี้เหมือนกับเป็นการเสียไปฟรี ๆ และถ้า ประกันสังคมปรับขึ้นเงินสมทบ จริงก็อาจส่งผลกระทบกับผู้ประกันตนได้เหมือนกัน เดี๋ยวเราจะไปดูกันว่าในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ จะทำให้ดีขึ้น หรือว่าดูแย่ลงกันแน่

ประกันสังคมประกาศขึ้นเงินสมทบ มาตรา 33

ประกันสังคม ประกาศขึ้นเงินสมทบ มาตรา 33

เหตุที่ ประกันสังคมปรับขึ้นเงินสมทบ เป็นเพราะการเกิดแนวคิดที่ว่า หากดำเนินการแบบนี้ก็จะช่วยให้ผู้ประกันตนไม่ต้องแบกรับค่ารักษาพยาบาลที่มากขึ้น แล้วก็เป็นไปตามมาตรฐานการจ้างองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ และยังช่วยกระจายรายได้จากผู้ที่มีรายได้มากสู่ผู้ที่มีรายได้น้อยได้อีกทางหนึ่ง

การจ่ายเงินสมทบอัตราใหม่

ในส่วนของ การจ่ายเงินสมทบอัตราใหม่ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 

เริ่มวันที่ 1 มกราคม 2567 – วันที่ 31 ธันวาคม 2569 ค่าจ้างไม่เกิน 17,500 บาท มีการปรับขึ้นเดือนละไม่ต่ำกว่า 1,650 บาท โดยต้องจ่ายเพิ่มจาก 750 บาท เป็น 875 บาท ซึ่งจะเพิ่มขึ้น 95 บาท

ระยะที่ 2 

เริ่มวันที่ 1 มกราคม 2570 – วันที่ 31 ธันวาคม 2572 ค่าจ้างไม่เกิน 20,000 บาท มีการปรับขึ้นเดือนละไม่ต่ำกว่า 1,650 บาท โดยต้องจ่ายเพิ่มจาก 875 บาท เป็น 1,000 บาท ซึ่งจะเพิ่มขึ้น 125 บาท

ระยะที่ 3 

เริ่มวันที่ 1 มกราคม 2573 เป็นต้นไป อัตราค่าจ้างไม่เกิน 23,000 บาท การปรับขึ้นเดือนละไม่ต่ำกว่า 1,650 บาท โดยต้องจ่ายเพิ่มจาก 1,000 บาทขึ้นไป เป็น 1,150 บาท ซึ่งจะเพิ่มขึ้น 150 บาท

การได้รับสิทธิประโยชน์

แน่นอนว่าในเมื่อผู้ประกันตนต้องจ่ายเงิน ประกันสังคม ในจำนวนที่มากขึ้น การได้รับสิทธิประโยชน์ ก็ต้องมากขึ้นตามไปด้วย เช่น

– เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีเจ็บป่วยมากกว่า 50% ของค่าจ้างที่ส่งเข้ากองทุน

– เงินทดแทนกรณีขาดรายได้จากการทุพพลภาพ 70% หรือ 30% จากเงินค่าจ้างที่ส่งเข้ากองทุน

– เงินสงเคราะห์เพื่อคลอดบุตมากกว่า 50% ของค่าจ้างที่ส่งเข้ากองทุน

– เงินสงเคราะห์การเสียชีวิต 50% จากค่าจ้างที่ส่งเข้ากองทุน

จ่ายเงินประกันสังคม เป็นเวลา 15 ปี ก็จะได้รับเงินบำนาญในอัตรา 20% ของค่าจ้าง แต่ถ้าส่งเกิน 15 ปี ขึ้นไป ก็จะได้รับเพิ่มในอัตรา 1.5% ไปเรื่อย ๆ จนครบรอบปี

ประกันสังคมประกาศขึ้นเงินสมทบ มาตรา 33

จากภาพรวมของข้อมูล ประกันสังคมปรับขึ้นเงินสมทบ จะพบว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ไม่ใช่ผู้มีรายได้น้อย แต่มันไปกระทบกับผู้ที่มีรายได้สูงมากกว่า เพราะการที่จะปรับอัตราในการจ่ายเงิน จะเริ่มจากผู้ที่มีเงินเดือนตั้งแต่ 17,500 ขึ้นไป แล้วก็ขึ้นลดหลั่นกันไปตาม % หากใครที่มีรายได้ไม่ถึงที่กำหนดก็ไม่ต้องเป็นกังวล เพราะยังไงก็จ่ายเท่าเดิมไม่เพิ่มไปกว่านี้ เว้นแต่ว่ารายได้จะมากขึ้น

ส่วนใครที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กำหนด ก็จะต้องจ่ายเงินเข้า ประกันสังคม ไปอย่างไม่มีทางเลือก แต่ถ้าคิดในแง่ดีก็จะทำให้สบายใจขึ้น เพราะอย่างน้อยเราก็ยังมีค่ารักษาพยาบาลที่มากขึ้น แล้วก็ยังมีเงินทดแทนในกรณีต่าง ๆ ถึงแม้ว่าเราจะถูกให้ออกจากงานไม่ว่าจะเป็นการลาออกโดยสมัครใจ หรือว่าถูกจ้างให้ออกก็แล้วแต่ ผู้ประกันตนก็ยังมีเงินส่วนนี้อยู่ แต่อย่างไรก็ตามแผนนี้จะเริ่มใช้ตอนต้นปี 2567 ผู้ประกันตนก็พอจะมีเวลา 2 – 3 เดือนให้ทำใจที่จะต้องเสียเงินมากกว่า 750 บาท