ไม่หลบทางให้รถพยาบาลที่เปิดไซเรนระวังผิดกฎหมาย และโดนข้อหาเจตนาฆ่า

ไม่หลบทางให้รถพยาบาลที่เปิดไซเรนระวังผิดกฎหมาย และโดนข้อหาเจตนาฆ่า ในช่วงที่การจราจรคับขัน เราจะเห็นว่าบางครั้งมีรถพยาบาลที่วิ่งกันอย่างรีบร้อน เนื่องจากว่ามีผู้ป่วยที่อยู่ภายในรถ และต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน แต่บนท้องถนนก็มีรถเยอะเกินไป แถมบางคันก็ยังไม่หลบทาง จนทำให้ผู้ป่วยที่อยู่ในรถไปรักษาไม่ทันเวลา ซึ่งการ ไม่หลบทางให้รถพยาบาลที่เปิดไซเรน อาจทำให้ผู้ใช้รถใช้ถนน ผิดกฎหมาย และโดนข้อหาเจตนาฆ่า หากไม่อยากให้ตัวเองเผชิญกับกฎหมายข้อนี้ ก็ลองมาศึกษาข้อมูลดูว่าการทำแบบไหนถึงจะไม่เสี่ยงกับข้อหาเหล่านี้ ไม่หลบทางให้รถพยาบาลที่เปิดไซเรนระวังผิดกฎหมาย และโดนข้อหาเจตนาฆ่า

ไม่หลบทางให้รถพยาบาลที่เปิดไซเรนระวังผิดกฎหมาย

ไม่หลบทางให้รถพยาบาลที่เปิดไซเรนระวังผิดกฎหมาย เสียงไซเรนหมายถึงอะไร

เสียงไซเรน หมายถึง สัญญาณในการแจ้งเตือนบอกเหตุด่วน ให้กับคนในบริเวณนั้นได้ทราบ เพื่อที่จะได้ขอทางในการนำส่งผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาล ซึ่งการใช้ ไซเรน จะอนุญาตให้ใช้เฉพาะ รถโรงพยาบาล เท่านั้น และจะต้องเปิดในกรณีที่เป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน หรือวิกฤต หากเป็นผู้ป่วยปกติจะไม่มีการเปิด และนอกจาก รถพยาบาล ก็ยังมีรถทหารกับรถตำรวจที่สามารถใช้ ไซเรน ได้ แต่ถ้าเป็นรถยนต์ส่วนบุคคลแล้วติด ไซเรน เพื่อที่อยากจะแซงรถทุกคันบนถนน ขอแนะนำว่าถ้าไม่อยากทำ ผิดกฎหมาย หรือไม่อยากถูกปรับในจำนวน 1,000 บาท ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 13 ก็เก็บความคิดนี้ไปได้เลย

ไม่หลบทางให้รถพยาบาลเข้าข่ายผิดกฎหมาย

บางคนที่ไม่รู้ร้อนรู้หนาวกับความเป็นความตายของคนอื่น ก็มักจะไม่ค่อยขยับให้ทางสักเท่าไหร่ แต่รู้หรือไม่ว่าการ ไม่หลบทางให้รถพยาบาลเข้าข่ายผิดกฎหมาย! เพราะพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 75 อนุญาตให้รถฉุกเฉินเปิด เสียงไซเรน, จอดรถในที่ห้ามจอดเพื่อรับผู้ประสบเหตุ, ขับรถเร็วได้มากกว่าที่กฎหมายกำหนด และขับรถฝ่าไฟแดงได้เลย ถ้ารถยนต์คันไหนที่ไม่ยอมหลบทางก็จะได้รับโทษปรับเป็นจำนวน 500 บาท อีกทั้งการไม่หลบทางอาจทำให้ผู้ป่วยที่อยู่ในรถถึงแก่ชีวิต ซึ่งจะทำให้ผู้ขับโดนข้อหาการกระทำโดยประมาท หรือกระทำโดยเจตนาฆ่า แล้วแต่ว่าในขณะนั้นมีการแสดงออกไปในทางใด

ไม่หลบทางให้รถพยาบาลที่เปิดไซเรนระวังผิดกฎหมาย

กรณีรถพยาบาลเปิดไฟ ไม่เปิดเสียงไซเรนต้องทำยังไง

สำนักวิชาการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ บอกว่าการใช้สัญญาณไฟ และ เสียงไซเรน มี 2 กรณี คือ

  • กรณีที่ 1: เปิดสัญญาณทั้งสองพร้อมกัน ในกรณีนี้เป็นกรณีเร่งด่วนที่ต้องไปถึงโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
  • กรณีที่ 2: เปิดสัญญาณไฟ แต่ปิดเสียงไซเรน ในกรณีนี้เป็นเหตุด่วนที่ต้องไปถึงห้องฉุกเฉินให้เร็วที่สุด

สรุปให้เข้าใจง่ายก็คือ ทั้งสองกรณีเป็นเรื่องด่วนทั้งคู่ แค่กรณีแรกเป็นแบบด่วนมาก ส่วนกรณีที่สองก็เป็นกรณีด่วนเหมือนกัน แต่ว่าด่วนไม่มากพอไปได้เรื่อย ๆ

ไม่หลบทางให้รถพยาบาลที่เปิดไซเรนระวังผิดกฎหมาย

วิธีการหลบทางให้รถพยาบาล

บางคนที่เป็นมือใหม่อาจจะทำตัวไม่ถูกเมื่อได้ยิน เสียงไซเรน ที่ดังขอทางมาเป็นระยะ สิ่งแรกที่ผู้ขับขี่จะต้องทำเลยก็คือ การตั้งสติให้อยู่กับตัวมากที่สุด ไม่ต้องตกใจจนเกินไป และควรทำตามดังนี้

  1. มองกระจกหลังเพื่อกะระยะ และทำการเบี่ยงซ้ายเพื่อหลีกทาง
  2. ในกรณีที่มีการจราจรแออัด ไม่สามารถไปทางไหนได้ให้หยุดรถไว้ เพราะรถพยาบาลจะหาทางไปเอง   
  3. ห้ามฉวยโอกาสในการขับตามรถพยาบาลเด็ดขาด
  4. ถ้าไม่มีใครหลีกทางให้ ผู้ขับขี่ต้องเปิดไฟเลี้ยว เพื่อให้รถพยาบาลแซงไปได้

ทั้งหมดนี้เป็นความรู้เกี่ยวกับ กฎหมายการไม่หลบทางให้รถพยาบาลที่เปิดไซเรน และข้อหาเจตนาฆ่า ซึ่งถ้าทุกคนที่ใช้ท้องถนนร่วมกัน สามารถปฏิบัติไปในทางเดียวกันได้ ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาด่วน มีโอกาสรอดชีวิตไปได้อีก เพียงแค่น้ำใจเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านี้ก็จะทำให้สังคมน่าอยู่ขึ้น ลองคิดกลับกันว่าถ้าหากผู้ป่วยที่อยู่บนรถเป็นคนที่เรารัก เราก็คงปล่อยให้เขาผ่านไปได้อย่างเร็วที่สุด เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะยังไงก็ตามแต่ หากเห็นว่ารถพยาบาลที่มีการเปิดสัญญาณไฟ หรือเปิด เสียงไซเรน ขอทาง นั่นหมายความว่าชีวิตของคนคนหนึ่งจะดำเนินต่อไปได้ ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินจากคนบนท้องถนน