เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ฉบับ 2566 ที่ต้องพิสูจน์ความจน

          ตลอดระยะเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมา หากเรามีคนใกล้ชิดที่เป็น ผู้สูงอายุ เราก็จะรู้ว่าทางรัฐบาลมีนโยบายจ่าย เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ แบบเป็นรายเดือนผ่านบัญชีธนาคาร ซึ่งจำนวนเงินที่ได้รับขึ้นอยู่กับช่วงอายุ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องมีอายุตั้งแต่ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และต้องไม่มีการรับสวัสดิการอื่น ส่วนรายได้ หรือคุณสมบัตินอกจากนี้ รัฐบาล ไม่ได้นำมาใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการวัดแต่อย่างใด

แต่เมื่อเข้าสู่ปี 2566 ที่มีการเลือกตั้งใหม่ ทำให้นโยบายนี้ถูกปรับเปลี่ยน จากการรับแบบถ้วนหน้ากลายเป็นการใช้เกณฑ์ใหม่ว่า ผู้สูงอายุ จะต้องไม่มีรายได้ หรือรายได้ไม่เพียงพอ ซึ่งมันทำให้หลายคนเกิดความกังขาว่านี่เป็นการประหยัดงบประมาณแผ่นดินของรัฐบาล หรือว่าเป็นการลดรายได้ของประชาชนกันแน่ เพราะเกณฑ์ที่ว่านี้ต้องการปรับใช้เฉพาะกลุ่มที่จำเป็น หรือเดือดร้อน ดังนั้น เราจะมาดูกันว่า เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุฉบับ 2566 ที่ต้องพิสูจน์ความจน! ฉบับนี้ เปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง

จำนวนของผู้สูงอายุในประเทศไทยที่จะเข้าเกณฑ์รับ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

หากอิงข้อมูลตัวเลข จำนวนของผู้สูงอายุในประเทศไทย ปี 2565 ที่นำมาจากฐานข้อมูลของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) จะพบว่า ผู้สูงอายุ มีมากกว่า 12.6 ล้านคนแบ่งเป็นกลุ่มผู้ที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 11 ล้านคน ส่วนที่เหลืออยู่ในกลุ่มที่ได้รับสวัสดิการ เช่น ข้าราชการเกษียณอายุ

ความแตกต่างของระเบียบกระทรวงมหาดไทย

          ในเมื่อมีการเปลี่ยนเกณฑ์เราจะเห็น ความแตกต่างของระเบียบกระทรวงมหาดไทย ฉบับปี 2552 บอกไว้ว่า ผู้มีสิทธิจะต้อง ไม่ได้รับสวัสดิการ หรือสิทธิประโยชน์จากหน่วยงานรัฐ และต้องไม่เป็น ผู้สูงอายุ ที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐ ซึ่ง ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ฉบับปี 2566 ไม่ได้ระบุข้อความข้างต้น แต่สำหรับ ผู้สูงอายุ ที่ขึ้นทะเบียนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไว้ก่อนหน้านี้ สามารถรับสิทธิ์ต่อไปได้

การเข้าถึงสวัสดิการด้วยการพิสูจน์ความจน

          ในหลักเกณฑ์เก่า ผู้สูงอายุ สามารถลงทะเบียนแบบถ้วนหน้าเพื่อรับเงินส่วนนี้ได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ตัวตน แต่ในหลักเกณฑ์ใหม่บอกว่า การเข้าถึงสวัสดิการด้วยการพิสูจน์ความจน เป็นเรื่องที่ต้องทำ ซึ่งมันอาจทำให้เกิดการตกหล่นได้ เนื่องจากว่าหากมีเงื่อนไขเข้ามามากขึ้น อาจทำให้ ผู้สูงอายไม่เข้าใจ หรือทำอะไรผิดพลาดจนไม่สามารถเข้าถึงได้

ผลกระทบจากการลดงบประมาณ

ซึ่ง ผลกระทบจากการลดงบประมาณเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เมื่อต้องพิสูจน์ความจน จะทำให้เห็นว่า ผู้สูงอายุ ประมาณ 6 ล้านคน ถูกตัดสิทธิ์ออกไป เพราะกระทรวงการคลังจะจ่าย เบี้ยยังชีพ จำนวน 5 ล้านคน ให้เฉพาะผู้ที่ถือ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เท่านั้น ซึ่งการลดเงินส่วนนี้ เป็นข้ออ้างที่ว่าจะช่วยลดรายจ่ายของรัฐบาล ไปได้หลายพันล้านบาท แต่เอาจริง ๆ แล้วควรจะไปตัดงบประมาณในส่วนอื่น ๆ มากกว่า

เปรียบเทียบหลักเกณฑ์แบบเก่า และหลักเกณฑ์แบบใหม่

          หลักเกณฑ์แบบเก่า

          1. มีสัญชาติไทย

          2. มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามทะเบียนบ้าน

          3. มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ซึ่งลงทะเบียน และ ยื่นคำขอรับ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

          4. ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐหรือ รัฐวิสาหกิจ หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ผู้รับเงินบำนาญเบี้ยหวัดบำนาญพิเศษ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกันแต่ไม่รวมถึงผู้พิการหรือผู้ป่วยเอดส์หรือผู้ได้รับสวัสดิการอื่นตามมติ ครม.

          หลักเกณฑ์แบบเก่า (มีผลตั้งแต่ 12 สิงหาคม 2566)

          1. มีสัญชาติไทย

          2. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

          3. มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ซึ่งได้ยืนยันสิทธิ์ขอรับ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

          4. เป็นผู้ไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ ตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนด

          สรุปง่าย ๆ ว่า การประกาศหลักเกณฑ์ใหม่ ฉบับนี้ มีขึ้นเนื่องจากรัฐบาลต้องการประหยัดงบประมาณ จึงเลือกที่จะมาตัด เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ แทนที่จะไปเลือกตัดงบประมาณในส่วนอื่น ซึ่งหลายคนมองว่า มันเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เพราะบางคนรายได้แทบไม่พอกิน หากต้องมา ยืนยันตัวตนพิสูจน์ความ จนอีก ก็ยิ่งทำให้เกิดความ เหลื่อมล้ำเข้าไปอีก แต่ถ้าใครที่เข้าเกณฑ์อยู่แล้วตั้งแต่แรกก็ไม่ต้องกังวล เพราะยังคงได้รับสิทธิ์ตามเดิม ห่วงแต่คนใหม่ ๆ ที่กำลังจะเข้าไปรับสิทธิ์ว่าจะผ่านการพิจารณาหรือไม่