พื้นฐานการใช้ชีวิตของคนเราที่นอกจากเรื่องอยู่เรื่องกินแล้ว ก็มีเรื่องความเจ็บป่วยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง ส่วนความรุนแรงของความเจ็บปวดก็แล้วแต่โรคที่เป็น สำหรับผู้มีเงินน้อยก็อาจต้องจำใจไปรับคิวแต่เช้า แล้วก็รอเรียกเพื่อเข้ารับการตรวจ แต่จะเป็นเวลาไหนก็ขึ้นอยู่กับจำนวนคนที่มารอ โดยผู้ที่จะได้รับประสบการณ์แบบนี้จะต้องมี สิทธิบัตรทอง ซึ่งเป็น หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่รักษาได้แทบจะทุกโรคตั้งแต่โรคธรรมดาไปจนถึงโรคร้ายแรง เดี๋ยวเราจะมาดูกันว่า สิทธิประโยชน์ บัตรทอง ครอบคลุมเรื่องใดบ้าง?
สิทธิประโยชน์ บัตรทอง มีดีงนี้
- ทันตกรรม เช่น อุดฟัน, ถอนฟัน, ขูดหินปูน ฯลฯ สามารถเข้ารับการรักษาได้ฟรี
- การตรวจวินิจฉัยโรค ซึ่งอาจเป็นโรคทั่วไป หรือเป็นโรคเฉพาะทางอย่าง มะเร็ง, วัณโรค, HIV
- การตรวจ และรับฝากครรภ์ ของหญิงตั้งครรภ์
- การทำคลอด โดยหญิงตั้งครรภ์สามารถคลอดบุตรได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
- การบำบัด และการบริการทางการแพทย์
- ค่ายา, เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์
- การกินอยู่ในหน่วยบริการ
- การบริบาลทารกแรกเกิด
- บริการรถพยาบาล สำหรับรับ – ส่งผู้ป่วย
- บริการรถรับ – ส่งผู้ทุพพลภาพ
- การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย และจิตใจเพื่อรองรับคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ที่ต้องได้รับการฟื้นฟู
- บริการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก เช่น การนวด, ประคบสมุนไพร
- บริการสาธารณสุขอื่น ๆ ที่จำเป็น
- การบำบัดรักษาฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด
- การบริการสาธารณสุขที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุการประสบภัยจากรถ
- การรักษาโรคแบบมีระยะเวลา (ผู้ป่วยใน)
จาก สิทธิประโยชน์ ข้างต้นนับว่าเป็นสวัสดิการที่ครอบคลุมแทบจะทั้งหมด แล้วก็ไม่ต้องเสียเงินในการเข้ารับการรักษา แต่ถ้าหากสถานพยาบาลนั้นเป็นระดับตั้งแต่ชุมชนขึ้นไป ผู้เข้ารับการรักษาจะต้องจ่ายเงินจำนวน 30 บาท / ครั้ง ยกเว้นผู้ที่ไม่ประสงค์จ่ายค่าบริการ (สามารถแจ้งความจำนงได้ที่หน่วยบริการ) กับบุคคล 20 กลุ่มตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ส่วน สิทธิประโยชน์ที่ไม่ครอบคลุม มีดังนี้
- เพื่อความสวยงาม เช่น การศัลยกรรมที่ไม่เกี่ยวกับความเจ็บป่วย
- การตรวจวินิจฉัย และการรักษาที่เกินความจำเป็นตามความเห็นแพทย์
- การรักษาที่อยู่ระหว่างการค้นคว้าทดลอง
- การปลูกถ่ายอวัยวะที่ไม่ปรากฏตามบัญชีแนบท้าย
- การบริการทางการแพทย์อื่น ๆ
ตัวอย่าง 15 โรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง หรือเป็นโรคเรื้อรัง
- โรคมะเร็ง
- ผ่าตัดสมอง
- โรคปอดระยะสุดท้าย
- การผ่าตัดรักษาข้อเข่าเสื่อม
- การปลูกถ่ายตับ
- โรคหลอดเลือดสมอง
- ปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต
- ผู้ติดเชื้อ HIV
- การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา
- โรคหายาก
- โรคหัวใจ
- โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
- โรคที่เกิดจากการดำน้ำ
- รักษาด้วยออกซิเจนความกดดันสูง
- โรคอื่นๆ
การเข้ารับรักษาในสถานพยาบาล
นำบัตรประจำตัวประชาชนยื่นให้กับ สถานพยาบาลประจำ เพื่อเข้ารับรักษาได้ทันที แต่ถ้าจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาทันทีในพื้นที่อื่น สามารถเข้า สถานพยาบาลปฐมภูมิ ได้ทุกที่ตามนโยบาย และในกรณีฉุกเฉินสามารถเข้า สถานพยาบาลที่อยู่ใกล้ ได้เลย
ส่วนคนที่ยังไม่รู้ สิทธิประโยชน์ ของตัวเองก็สามารถเลือกเข้าตรวจสอบ สิทธิประโยชน์ ได้ง่าย ๆ หรือถ้าใครมีข้อสงสัยอื่น ๆ ที่อยากรู้ก็สามารถเข้าไปถามได้ผ่านช่องทางที่แจ้งไว้ด้านล่าง ซึ่งมีความสะดวกเป็นอย่างมาก เพราะเราไม่ต้องเดินทางไปถึงที่แบบเมื่อก่อน แค่มีมือถือเครื่องเดียวก็สามารถติดต่อเรื่องที่อยากรู้ได้เลย