ภาวะสมองเสื่อม โรคที่ไม่ควรมองข้าม จั่วหัวเกี่ยวกับเรื่องภาวะสมองเสื่อม ก็น่าจะมีหลายคนที่คิดว่ามันเป็นโรคเดียวกับ โรคอัลไซเมอร์ เพราะแค่ฟังผ่าน ๆ หรือคิดคร่าว ๆ ก็คงประมาณว่าผู้ป่วยคงจะจำอะไรไม่ได้ จริง ๆ แล้วมันก็มีส่วนที่คล้ายกันอยู่บ้าง นั่นก็เนื่องจากว่าภาวะสมองเสื่อม ก็เริ่มมาจาก โรคอัลไซเมอร์ โดยอาการในช่วงแรกจะยังมองเห็นไม่ชัดเท่าไหร่ แต่เมื่อเวลผ่านไปหลาย ๆ ปี สัญญาณเตือนเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม ก็จะเห็นชัดมากขึ้น เป็นต้นว่าไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้อีกต่อไป ซึ่งอาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ

ภาวะสมองเสื่อม กับโรคอัลไซเมอร์ต่างกันอย่างไร?
ภาวะสมองเสื่อม เกิดได้ในผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไป ทำให้ความจำเริ่มถดถอย เริ่มคิดอะไรช้าลง เริ่มหลงลืมบางอย่างที่เคยทำ เช่น จำตำแหน่งที่วางของไม่ได้ แต่เมื่อมีการบอกแบบอ้อม ๆ ก็จะสามารถนึกออกได้เอง แต่ถ้าเป็น โรคอัลไซเมอร์ จะไม่สามารถจำอะไรได้เลย แม้จะมีการบอกใบ้ก็ตาม หนักเข้าก็อาจลืมถึงวิธีในการดำเนินชีวิตไปจนถึงช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
ประเภทของภาวะสมองเสื่อม
หากผู้สูงอายุบ้านไหนเกิดความผิดปกติ จากการทำงานในสมอง แม้จะเป็นเพียง 1 ใน 6 ด้าน ไม่ว่าจะเป็นสมาธิ, การคิด / ตัดสินใจ และการวางแผน, ความจำ, การใช้ภาษา, มิติสัมพันธ์ และการเข้าสังคม ก็แล้วแต่นั่นหมายความว่ามันเป็น สัญญาณเตือนเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม เพราะถ้าเวลาผ่านไปก็จะทำให้การใช้ชีวิตยากมากขึ้น โดยหลัก ๆ แล้ว ประเภทของภาวะสมองเสื่อม มี 2 ประเภท คือ
- กลุ่มที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาด เช่น โรคอัลไซเมอร์
- กลุ่มที่รักษาให้ดีขึ้น เช่น ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ, มีน้ำคั่งในโพรงสมอง หรือเลือดออกในเยื่อหุ้มสมอง

เช็คอาการภาวะสมองเสื่อม
- สื่อสารได้น้อยลง ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุย หรือบอกความต้องการ จำในสิ่งที่จะพูดไม่ได้
- จำการเดินทางไม่ได้ทั้งเรื่องของเวลา และสถานที่
- ลืมสิ่งที่เคยทำอยู่บ่อย ๆ เช่น การเปิด – ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า
- ไม่สามารถรับสิ่งใหม่ ๆ เข้าไปในระบบความจำ และแยกรสชาติกับกลิ่นไม่ได้
- ความมั่นใจในการตัดสินใจลดลง และเกิดการผิดพลาดได้ง่าย
- ไปไหนมาไหนคนเดียวไม่ได้
- เกิดอาการที่ต่างไปจากปกติ เช่น มีอาการซึมเศร้า หรือโมโหง่ายไม่มีสาเหตุ
การรักษาภาวะสมองเสื่อม
ตามความเห็นของแพทย์จะวินิจฉัยก่อนว่า อาการที่เป็นอยู่นั้นเกิดจาก โรคอัลไซเมอร์ หรือว่าภาวะสมองเสื่อม เนื่องจากวิธีการรักษาจะไม่เหมือนกัน กล่าวคือ หากเป็น โรคอัลไซเมอร์ จะรักษาด้วยวิธีการให้ยาประคองอาการให้เกิดช้าลง ซึ่งมันจะช่วยปรับพฤติกรรมที่ผิดปกติได้ในระยะแรก ๆ หรือใช้กระแสไฟฟ้าอย่างอ่อนเพื่อกระตุ้นระบบสมอง แต่ถ้าผู้ป่วยมีภาวะสมองเสื่อม ก็จะต้องดูจากสาเหตุของการเกิดโรค เพราะถ้ามันไม่ได้เกิดจากเซลล์ประสาทก็จะต้องพิจารณารักษาเป็นกรณีไป

การดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม
ปกติการดูแลผู้ป่วยทั่วไปก็ต้องดูแลเอาใจใส่ให้ดีอยู่แล้ว ยิ่งถ้าพูดถึง การดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม ก็จะต้องดูแลเป็นพิเศษ เนื่องด้วยความจำที่ถดถอยอยู่แล้ว บวกกับการช่วยเหลือตัวเองลดน้อยลง ทำให้ผู้ดูแลต้องมีความใจเย็น และมีความอดทนต่อสิ่งที่กำลังเผชิญ ที่สำคัญผู้ดูแลจะต้องเข้าใจในพฤติกรรมความเปลี่ยนแปลงนี้ก่อนเป็นอย่างแรก เพราะจะได้มีการวางแผนในการดูแลว่า ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม มีอารมณ์แบบไหน สิ่งไหนที่ทำแล้วก่อให้เกิดความไม่พอใจก็ควรเลี่ยง เพื่อลดความรุนแรงเกรี้ยวกราดลง หรือถ้าผู้ป่วยชอบสิ่งไหนก็ให้ช่วยทำบ่อย ๆ จะได้ไม่เกิดความเครียด โดยเฉพาะเรื่องของการทำความสะอาดร่างกาย ที่ต้องหมั่นดูแลให้สะอาดอยู่เสมอ
ถ้า ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม คนไหนที่สามารถพาไปทำกิจกรรมอื่น ๆ นอกบ้านได้ก็ควรทำ เพื่อเป็นการกระตุ้นความจำ หรือพาไปออกกำลังกายเล็ก ๆ น้อย ๆ ทั้งนี้หากมีพฤติกรรม หรืออาการอื่นที่ผิดปกติ เช่น เริ่มก้าวร้าว, หงุดหงิด, หวาดระแวง แนะนำให้จดบันทึกไว้ เมื่อได้เวลาตามแพทย์นัดจะได้มีการพูดคุย และจ่ายยาให้ทานอย่างเหมาะสม และผู้ดูแลก็ควรทำทุกอย่างให้เป็นกิจวัตรเพื่อให้ผู้ป่วยจำได้