รู้ก่อนตัดสินใจซื้อ รถยนต์ไฟฟ้า มีกี่ประเภท และแตกต่างกันยังไง

รู้ก่อนตัดสินใจซื้อ รถยนต์ไฟฟ้า มีกี่ประเภท และแตกต่างกันยังไง ในปัจจุบันที่อะไรต่อมิอะไรก็แพงไปหมดทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องอุปโภค บริโภค ก็ล้วนมีราคาที่พุ่งขึ้นสูงแทบทั้งนั้น ไม่เว้นแม้แต่ค่าน้ำมัน หรือค่าแก๊สที่มีการขยับขึ้น – ขยับลงอยู่บ่อย ๆ ซึ่งสิ่งนี้ก็นับเป็นปัญหากับผู้ใช้รถเหมือนกัน เพราะฉะนั้นเวลาที่อยากออกรถใหม่ รถยนต์ไฟฟ้า จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่มีผู้คนให้ความสนใจเสมอ แต่ก่อนที่จะจองก็ต้อง รู้ก่อนตัดสินใจซื้อ รถยนต์ไฟฟ้า มีกี่ประเภท และแตกต่างกันยังไง

รู้ก่อนตัดสินใจซื้อ รถยนต์ไฟฟ้า

รถยนต์ไฟฟ้าคืออะไร? รู้ก่อนตัดสินใจซื้อ รถยนต์ไฟฟ้า

รถยนต์ไฟฟ้า หรือ Electric Vehicle (EV) นับว่าเป็นการพัฒนาด้านเทคโนโลยีได้อย่างดีเยี่ยม ด้วยสภาพภายนอกที่มีความสวยงาม แถมยังประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก เพราะฉะนั้น รถยนต์ไฟฟ้า จึงติดอันดับการค้นหาสำหรับคนที่กำลังจะซื้อรถใหม่

รถยนต์ไฟฟ้ามีกี่ประเภท? และแตกต่างกันยังไง?

รถยนต์ไฟฟ้า มีอยู่ 4 ประเภทหลัก คือ

1. รถยนต์ไฟฟ้าประเภทไฮบริด หรือ Hybrid Electric Vehicle (HEV) เป็น รถยนต์ไฟฟ้า ที่ขับเคลื่อนได้จากการทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องยนต์สันดาป และมอเตอร์ไฟฟ้า ทำให้มีอัตราการเร่งสูง แต่ไม่เปลืองน้ำมัน ซึ่ง รถยนต์ไฟฟ้า ประเภทนี้จะใช้กระบวนการการสนับสนุนการเบรกแบบผันกลับ แทนการเสียบปลั๊กชาร์จไฟ ตัวอย่างของ รถยนต์ไฟฟ้าประเภทไฮบริดในไทย เช่น Toyota Camry Hybrid, Honda Accord Hybrid, Nissan X-Trail Hybrid

ลักษณะการใช้งาน: เหมาะกับการใช้งานในช่วงการจราจรติดขัด ซึ่งต้องมีการเหยียบคันเร่ง และเหยียบเบรกบ่อย แต่จะไม่สิ้นเปลืองน้ำมัน

2. รถยนต์ไฟฟ้าประเภทปลั๊กอินไฮบริด หรือ Plug-in Hybrid Vehicle (PHEV) ในส่วนของการทำงานก็จะคล้ายกับ รถยนต์ไฟฟ้า ประเภทแรก แต่ความต่างมันอยู่ที่ว่า รถยนต์ไฟฟ้า ประเภทนี้สามารถชาร์จไฟด้วยการเสียบปลั๊กได้ ตัวอย่างของ รถยนต์ไฟฟ้าประเภทปลั๊กอินไฮบริดในไทย เช่น BMW plug-in hybrid, Mercedes-Benz plug-in hybrid, Audi plug-in hybrid

ลักษณะการใช้งาน: เหมาะกับผู้ที่อยากใช้ รถยนต์ไฟฟ้า ในการเดินทาง และในขณะเดียวกันก็สามารถเดินทางไปในจังหวัดที่อาจไม่มีที่ชาร์จไฟ โดยสลับกับการใช้น้ำมัน

3. รถยนต์ไฟฟ้าประเภทเซลล์เชื้อเพลิง หรือ Fuel Cell Electric Vehicle (FCEV) เป็น รถยนต์ไฟฟ้า ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า และมีการใช้เทคโนโลยีไฮโดรเจนผลิตพลังงานไฟฟ้า ทำให้ต้องเติมพลังงานโดยการใช้ไฮโดรเจนแทนการเสียบปลั๊กชาร์จไฟ ตัวอย่างของ รถยนต์ไฟฟ้าประเภทเซลล์เชื้อเพลิง เช่น Toyota Mirai, Hyundai Nexo, Honda Clarity Fuel Cell

ลักษณะการใช้งาน: เหมาะกับการใช้งานทั่วไป แต่ด้วยต้นทุนที่สูงกว่าประเภทอื่น ๆ ทำให้ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก อีกทั้งสถานีสำหรับเติมไฮโดรเจนในไทยก็ยังไม่ค่อยมี

4. รถยนต์ไฟฟ้าประเภทแบตเตอรี่ หรือ Battery Electric Vehicle (BEV) เป็น รถยนต์ไฟฟ้า ที่มาแรงมากที่สุด เพราะเป็นการใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในการขับเคลื่อน แล้วก็ไม่ก่อมลภาวะที่เป็นพิษ ซึ่งกฎเหล็กของผู้เป็นเจ้าของก็คือ จะต้องไม่ลืมการเสียบปลั๊กชาร์จไฟทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน รวมไปถึงการคำนวณระยะทาง พร้อมกับเช็กสถานีสำหรับชาร์จไฟ ในกรณีที่ รถยนต์ไฟฟ้า อาจจะแบตเตอรี่หมด ตัวอย่างของ รถยนต์ไฟฟ้าประเภทแบตเตอรี่ในไทย เช่น Tesla, Nissan Leaf, MG ZS EV

รู้ก่อนตัดสินใจซื้อ รถยนต์ไฟฟ้า

ลักษณะการใช้งาน: เหมาะกับการใช้งานทั่วไปในระยะสั้น ๆ เพราะถ้าหากเดินทางไกลแล้วคำนวณผิดพลาด อาจทำให้ประสบปัญหาพลังงานหมดกลางทาง ไปจนถึงการอยู่ห่างไกลสถานีชาร์จไฟ

ข้อดีของรถยนต์ไฟฟ้า

  1. เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะไม่มีการปล่อยไอเสีย จึงไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศ
  2. ลดมลพิษทางเสียง เนื่องจาก รถยนต์ไฟฟ้า มีความเงียบมากกว่ารถยนต์ทั่วไป
  3. สมรรถนะคุ้มค่า ด้วยความที่ รถยนต์ไฟฟ้า มีให้เลือกหลายรุ่น ก็เลือกให้ตรงตามการใช้งานได้เลย
  4. ประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว เพราะไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องบ่อย ๆ

          4. ประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว เพราะไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องบ่อย ๆ

รู้ก่อนตัดสินใจซื้อ รถยนต์ไฟฟ้า

ข้อเสียของรถยนต์ไฟฟ้า

เนื่องจากต้นทุนการผลิตต้องใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาทำให้ รถยนต์ไฟฟ้ามีราคาสูง และ สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าไม่ครอบคลุม ซึ่งอาจทำให้วางแผนการเดินทางคลาดเคลื่อนได้ เพราะฉะนั้นต้องดูให้ดีว่าการใช้งานแบบไหนเหมาะกับประเภทไหน ถ้าหากเลือกประเภทการใช้งานระยะสั้นแต่ไปต่างจังหวัด ก็อาจเกิดปัญหาพลังงานไม่เพียงพอ ที่สำคัญก็ยังไม่สามารถหาสถานีได้อีก ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวเลือกหนึ่งในการประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อ ถ้าหากพิจารณาแล้วว่า พร้อมจ่ายเงินในราคาแพงแต่คุ้มค่าก็จัดได้ตามชอบเลย