ประชาธิปไตยคือ

ประชาธิปไตยคือ ถ้าขอนิยามคำว่า ประชาธิปไตย หลายคนอาจนึกถึงความเสมอภาค หรือการยอมรับเสียงส่วนใหญ่ที่เรามักจะรับรู้กันแบบทั่วไปอยู่แล้ว เช่น การเลือกนายกรัฐมนตรี ควรจะเป็นนักการเมืองที่มาจากเสียงส่วนใหญ่ที่ประชาชนเลือกมา และได้รับความไว้วางใจให้บริหารงานบ้านเมือง ซึ่งหลายคนคิดว่ามันเป็นเรื่องที่ถูกต้อง แต่รู้หรือไม่ว่า ความหมายของคำว่าประชาธิปไตย จริง ๆ แล้วไม่ได้มีเท่าที่เรารู้กัน เพราะมันยังมีบทบัญญัติแยกย่อยออกอีกเป็นข้อ ๆ เดี๋ยวจะพาไปดูว่ามีอะไรบ้าง

ความหมายของคำว่า ประชาธิปไตยคือ

หากยึดเอา ความหมายของคำว่าประชาธิปไตย จาก พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 จะแปลได้ว่า เป็นการปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่ ส่วน Democracy แปลว่าอำนาจสูดสุดในการปกครองจะต้องมาจากประชาชน และรัฐบาลที่เลือกมาจะต้องอยู่ในอำนาจจนครบวาระ ถ้าหากผลงานของรัฐบาลสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ ก็มีสิทธิ์ที่จะได้รับการไว้วางใจให้บริหารต่อไป ซึ่งหลาย ๆ ประเทศก็มักจะใช้ระบบนี้ในการเลือกผู้บริหารงาน

4 หลักการของประชาธิปไตย

แค่ความเชื่อมั่นในตัวบุคคลอย่างเดียว อาจไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องเสมอไป เพราะการที่ประชาชนจะไว้วางใจใรสักคน ก็จะต้องเข้าใจในพื้นฐานของ 4 หลักการของประชาธิปไตย ก่อน ดังนี้

  1. การมีเสรีภาพ ไม่ว่าบุคคลใดก็ตามสามารถที่จะแสดงออกได้อย่าง มี เสรีภาพ แต่ต้อง ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพ ของผู้อื่น และอยู่ภายใต้กติกาของสังคม 
  2. . ความเสมอภาค หมายถึง มีคุณค่าในความเป็นมนุษย์เท่ากัน โดยไม่มีการแบ่งชั้น วรรณะ หรือการแบ่งแยกเพศสภาพ
  3. อำนาจอธิปไตย นับเป็นความเท่าเทียมที่ประชาชนทุกคน ควรมีส่วนร่วมในการอยู่ร่วมกันในสังคม เช่น การเลือกตั้ง เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี หรือการเลือกผู้แทนราษฎร
  4. . เสียงข้างมากที่คุ้มครองเสียงข้างน้อย หมายถึง ความเห็นของประชาชนทุกคนในเรื่องต่าง ๆ ที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขด้วยการให้เสียงข้างมากตัดสิน แต่ต้อง ไม่ละเมิด เสียงข้างน้อย เพราะถ้าเป็นแบบนั้นจะถือเป็น การปกครองโดยระบอบเผด็จการเสียงข้างมาก

รูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

รูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สามารถแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ

  1. หลักประมุขของประเทศ ที่แบ่งย่อยได้อีก 2 แบบ คือ
    • 1.1 การปกครองระบอบกษัตริย์ ภายใต้รัฐธรรมนูญอย่างเป็นกลาง โดยผ่านอำนาจสามฝ่าย และต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับการบริหารราชการ
    • 1.2 การปกครองโดยประธานาธิบดี มีหน้าที่เป็นประมุขของรัฐ และอาจมีหน้าที่ประมุขของฝ่ายบริหาร โดยมาจากการเลือกตั้งของประชาชน
  2. หลักการรวม และแยกอำนาจ แบ่งเป็นข้อย่อย 3 ข้อ คือ
    • 2.1 การปกครองระบบรัฐสภา แบ่งเป็นรูปแบบสภาเดียว โดยสมาชิกจะมาจากการเลือกตั้ง และรูปแบบสองสภาอาจมีสภาหนึ่งที่มาจากการเลือกตั้ง และอีกสภามาจากการแต่งตั้ง ซึ่งรัฐบาลจะถูกตรวจสอบโดยอำนาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 
    • 2.2 การปกครองระบบประธานาธิบดี คล้ายกับข้อ 2.1 แต่จะมีการทำงานที่แตกต่างกันทั้งการจัดตั้ง และการแบ่งอำนาจ หลังจากที่ประธานาธิบดีรับหน้าที่แล้ว จะมีการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีโดยผ่านความเห็นชอบของวุฒิสภา
    • 2.3 การปกครองระบบผสม เป็นการบริหารงานระหว่างประธานาธิบดีกับนายกรัฐมนตรี ซึ่ง ประธานาธิบดีจะเป็นผู้กำหนดนโยบาย พร้อมทั้งอำนาจอนุญาโตตุลาการระหว่างรัฐสภากับคณะรัฐมนตรี และมีอำนาจในการประกาศยุบสภา

สรุปโดยรวมแล้ว ความหมายของคำว่าประชาธิปไตย จะต้องอยู่ในกฎเกณฑ์ ตามกรอบที่สังคมกำหนด ยอมรับฟังในเสียงข้างมาก หากมีการเห็นต่างก็ควรเคารพความคิดผู้อื่น และต้อง ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพ ของใครด้วยการบังคับให้คิดเหมือนกับตนเอง หากทุกคนปฏิบัติให้เหมือนกัน ก็จะทำให้สังคมค่อย ๆ เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น ไม่แน่ว่าในวันหนึ่งปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน อาจจะหมดไปได้โดยเร็ว