โรคจิตเภท อันตารายกว่าที่คิด เมื่อรู้แล้วรีบพบแพทย์

โรคจิตเภท อันตารายกว่าที่คิด เมื่อรู้แล้วรีบพบแพทย์ โรคจิตเภทเป็นโรคที่หากเรารู้ตัวได้ทัน เราสามารถ รีบเข้าพบแพทย์ เพื่อเข้าสู่กระบวกการรักษาให้เร็วที่สุด ก็จะช่วยลดความรุนแรงของโรคจิตเภทได้ และ สามารถใช้ชีวิตได้อย่างสงบสุข เป็นปกติได้ในสังคม

โรคจิตเภทที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะถูกสังคมตราหน้าว่าเป็นโรคจิต จริง ๆ แล้วบางรายอาจจะมีมุม ที่คนทั่วไปไม่สามารถทราบได้ว่ากำลังป่วยอยู่ จนทำให้อาการสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เกิดความรุนแรง ทำร้ายตัวเองบ้าง หรือที่หนักก็คือทำร้ายผู้อื่นในสังคม เพราะฉะนั้น เราจึงต้องรู้จักกับโรคนี้ไว้เพื่อไว้สังเกตุตนเอง และ คนรอบข้าง เรามารู้จักกับโรคจิตเภท กันเถอะ

โรคจิตเภท

โรคจิตเภท คืออะไร

โรคจิตเภทหรือ โรคที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า Schizophrenia เป็นอาการที่ผิดปกติของสมองที่ส่งผลมาถึงการรับรู้และความคิดที่แตกต่างออกไปจากโลกความเป็นจริง ทำให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่แปลก ๆ ที่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และ การอยู่ในสังคม ผู้ป่วยจะมีอาการ เช่น หลอนประสาท หูแว่ว ขาดการดูแลตัวเอง คิดแค่ว่าจะมีคนปองร้ายตลอดเวลา ส่วนใหญ่โรคนี้จะเริ่มมีอาการ เมื่ออายุเริ่มประมาณ 14-16 ปี หรือช่วงปลายวัยรุ่น และพบได้ประมาณร้อยละ 1 ของประชากร

โรคจิตเภท เกิดจากอะไร

สาเหตุของการเกิดโรคจิตเภท เกิดจากปัจจัยทางร่างกายและทางด้านจิตใจ ดังนี้

  • กรรมพันธุ์ โดยพบว่ายิ่งมีความใกล้ชิดกันทางสายเลือดมากเท่าไร ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นเท่านั้น เช่น พี่และน้องแท้ ๆ จะเสี่ยงเป็นจิตเภท 9% หรือหากมีประวัติพ่อหรือแม่ป่วย ลูกจะเสี่ยงเป็นโรคนี้ 13%
  • ความเครียดในชีวิตประจำวัน ความกดดัน การจู้จี้ บังคับ หรือแม้แต่การปล่อยปละละเลย ก็ส่งผลต่ออารมณ์และทำให้โรคจิตเภทกำเริบได้
  • ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง และโครงสร้างของสมองบางส่วนที่ผิดไปจากปกติ เล็กน้อย
โรคจิตเภท

อาการของโรคจิตเภท เป็นอย่างไร

  • กลุ่มอาการด้านบวก
    • เป็นความผิดปกติทางด้านความคิด การรับรู้ การสื่อสาร และพฤติกรรมที่มากเกินคนทั่วไป เช่น พูดคนเดียว หัวเราะคนเดียว หลงผิด หวาดระแวง ฝังใจ เกิดภาพหลอน หูแว่ว ประสาทหลอน คิดว่ามีคนพูดหรือสั่งให้ทำสิ่งต่าง ๆ คิดว่าจะมีคนมาทำร้าย คิดว่ามีคนแอบตาม แอบมอง ทำให้ต้องพกอาวุธป้องกันตัว รวมถึงมีพฤติกรรมที่ผิดแผกแปลกไปจากเดิม
  • กลุ่มอาการด้านลบ
    • จะเป็นภาวะความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่ลดน้อยลงจากสิ่งที่คนทั่วไปมี เช่น พูดน้อย พูดไม่รู้เรื่อง ไม่ค่อยแสดงออกทางอารมณ์ หน้าตาเฉยเมย ไร้อารมณ์ ไม่สนใจสิ่งรอบข้าง ขาดความกระตือรือร้น เฉื่อยชา เก็บตัว ซึม ไม่ชอบแสดงออก ขาดการดูแลตัวเอง ไม่นอนในเวลากลางคืน

          อย่างไรก็ตาม อาการจิตเภทอาจจะเกิดแบบค่อยเป็นค่อยไป ค่อย ๆ เผยมาทีละอาการ เช่น เริ่มมีอาการสับสน มีความคิดแปลก ๆ ไม่อยู่ในความเป็นจริง ไม่สุงสิงกับใคร เริ่มหวาดระแวง มีปัญหาการนอนหลับ และอาการจะค่อย ๆ รุนแรงขึ้น จนเริ่มมีปัญหาด้านการเรียน การทำงาน ขาดความรับผิดชอบในหน้าที่ หรือบางคนอาจมีอาการอย่างเฉียบพลันทันทีก็ได้เช่นกัน

โรคจิตเภท

โรคจิตเภท รักษาหายไหม

หากพบว่าตนเองมีอาการ แบบในข้างตน แล้วไม่มารักษา จะไม่สามารถหายได้เอง จนทำให้อาการสะสมรุนแรงมากขึ้น อาจจเริ่มจาดทำร้ายตนเอง และ ลามไปถึงทำร้ายคนในบ้านได้ ดังนั้นญาติที่อยู่ใกล้ชิดควรพามาพบจิตแพทย์ เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วน

  • การรักษาด้วยยา เพื่อปรับสมดุลสารเคมีในสมอง จะได้ควบคุมอาการไม่ให้กำเริบ แต่หากใช้ยาไม่ได้ผล แพทย์อาจพิจารณาใช้การช็อกไฟฟ้า
  • .การบำบัดแบบกลุ่ม โดยจัดกิจกรรมกลุ่มระหว่างผู้ป่วย ญาติ เพื่อนของผู้ป่วย เพื่อให้กำลังใจซึ่งกันและกัน
  • การฟื้นฟูสภาพจิตใจ เช่น ฝึกการเข้าสังคม และให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วย
  • ครอบครัวบำบัด เพื่อแนะแนวทางให้ญาติดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม
  • การทำจิตบำบัด เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจตนเอง รับรู้และเข้าใจปัญหาของตนเองมากขึ้น

  ทั้งนี้ สิ่งสำคัญในการรักษาผู้ป่วยจิตเภทคือ ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ ไม่ขาดยา มาพบแพทย์ตามนัด เพื่อควบคุมให้โรคสงบและไม่กำเริบจนกระทบกับการใช้ชีวิต เพราะโรคนี้ส่วนใหญ่จะต้องรักษาแบบประคับประคองไปเรื่อย ๆ ไม่หายขาด

โรคจิตเภท

คนใกล้ชิด หรือ ญาติ ควรดูแลผู้ป่วยจิตเภทอย่างไร

การที่เราอยู่ใกล้ผู้ป่วยจิตเภทนั้น เราจะต้องทำความเข้าใจกับพฤติกรรมของผู้ป่วยให้ลึกซึ่ง หมั่นพุดคุย เอาใจใส่ เข้าใจ และค่อยดูแลให้ทานยาสม่ำเสมอ ตรงต่อเวลา ตามแพทย์สั่ง ทำความเข้าใจผู้ป่วย โดยไม่ใช้ความรุนแรง คำพูดที่รุนแรง ดูถูก ค่อยกระตุ้นการใช้ชีวิตประจำวัน การดุแลตัวเองในทุก ๆ วัน โดยที่ญาติหรือคนใกล้ชิด จะไม่มีการบังคับ ไม่ตำหนิ ติเตียนโดยที่ไม่จำเป็น แต่สามารถบอกผิดถูกได้ แบบค่อย ๆ สอน จะเหมือนกับเราดุแลเด็กเล็กอีกครั้ง

ญาติและคนใกล้ชิด จะต้องอดทนดูแลผู้ป่วยสักระยะ เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่จะดื้อไม่ค่อยกินยา ไม่ยอมเข้ารับการรักษา ไม่ไปตามแพทย์นัด ดังนั้นญาติ อาจจะต้องใช้ความอดทนค่อนข้างสูงมาก ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยหายจากโรคจิตเภทที่เป็นอยู่