ไม่มีใครอยากตกงานในสภาวะเศษฐกิจที่ย่ำแย่ หลาย ๆ ครั้งการหางานใหม่ไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากบางธุรกิจก็ไม่ต้องการที่จะจ้างคนเพิ่ม แถมบางธุรกิจยังอยากจะให้คนออก เพราะสู้ราคาค่าจ้างไม่ไหว หากใครที่มีงานทำอยู่ก็ขอให้จับให้แน่นไว้ก่อน แต่ถ้าใครที่ตกงานแล้ว หรือว่ามีแนวโน้มจะลาออกจากงานตอนนี้ และมีสภาพเป็น ผู้ประกันตน ในระบบ ประกันสังคม งั้นลองแวะมาเอาความรู้หน่อยว่า ผู้ประกันตนจะได้อะไรเมื่อ ว่างงาน
สำหรับลูกจ้าง หรือพนักงานที่พ้นสภาพแล้วต้องการได้เงินชดเชย จะต้องทำการ ลงทะเบียน ว่างงาน โดยวิธีที่สะดวกที่สุดก็คือ การลงทะเบียนแบบออนไลน์ ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็ทำได้ ซึ่ง ผู้ประกันตน จะต้องดำเนินการด้วยตนเอง แต่ถ้าไม่สะดวกก็สามารถมอบอำนาจได้ แต่ต้องบอกก่อนว่าได้เฉพาะ ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ส่งเงินมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนว่างงาน
ขั้นตอนการขึ้นทะเบียน ว่างงาน
ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนว่างงาน จะต้องกรอกพวกข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ แต่โดยหลัก ๆ แล้วก็จะมีการให้ระบุวันที่ออกจากงาน กับสาเหตุที่ออกจากงานด้วย เนื่องจากว่าทาง ประกันสังคม มี การพิจารณาจ่ายเงินชดเชย เมื่อมีการตรวจสอบข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ประกันสังคม จะจ่ายเงินชดเชยตามรอบ โดยจะใช้เวลาประมาณ 7 – 14 วันทำการ แต่ถ้าใครยังไม่รู้วิธี ลงทะเบียนว่างงาน ให้ทำดังนี้
1. เข้าไปที่เว็บไซต์ www.empui.doe.go.th และเลือกหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง
1.1 กรณีใช้บริการจากที่บ้านหรือสถานที่อื่นที่ไม่ใช่สำนักงาน
1.2 กรณีเดินทางมาใช้บริการที่สำนักงาน
2. กดปุ่มเมนูลงทะเบียน (กรณีผู้ใช้ใหม่) / ลงชื่อเข้าใช้งาน (ผู้ใช้ที่เคยสมัครแล้ว)
3. อ่านรายละเอียดให้ครบถ้วน จากนั้นกดยอมรับและเข้าใช้งาน
4. กรอกข้อมูลทั้งด้านหน้า และด้านหลังของบัตรประชาชน
5. เพิ่มรูปถ่าย และข้อมูลอื่นให้ครบ
6. กดปุ่มดำเนินการ
7. เลือกเมนูขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน
8. ตรวจสอบข้อมูลก่อนคลิกขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน
9. พิมพ์หนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน กับวันที่นัดรายงานตัวของผู้ประกันตน
การพิจารณาจ่ายเงินชดเชย จะมีการแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
1. ลาออก / สิ้นสุดสัญญาจ้าง จะได้รับเงินทดแทน 30% ของค่าจ้าง ไม่เกิน 90 วัน / 1 รอบปฏิทิน โดยใช้สูตร (เงินเดือน x เปอร์เซ็นต์ x วัน / เดือน) เช่น ได้รับเงินเดือน 15,000 บาท ก็จะคิดเป็น (15,000 x 0.30 x 90) / 30 เท่ากับได้รับเงินชดเชย 150 บาท / วัน แต่ต้องส่งเงินไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน
2. ถูกเลิกจ้าง จะได้รับเงินทดแทน 50% ของค่าจ้าง ไม่เกิน 180 วัน / 1 รอบปฏิทิน โดยใช้สูตรเดียวกับข้อแรก แต่จะได้เงินชดเชยมากขึ้น 20%