หลังจากที่ รถไฟฟ้า หลายสี หลายเส้นทางก่อสร้างเสร็จ สายต่าง ๆ ก็เริ่มทยอยการให้บริการแก่ประชาชน ซึ่ง รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ก็ได้มีการทดลองใช้ และเปิดให้บริการไปเมื่อเดือนมิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา ส่วน รถไฟฟ้าสายสีชมพู ยังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง ก็เลยทำให้ยังไม่รู้เวลาในการเดินรถ ที่แน่ชัดเท่าไหร่ ดังนั้น เราควรศึกษาเส้นทางการเดินรถไว้ก่อนล่วงหน้าเพื่อ เตรียมความพร้อมใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีชมพู เผื่อมีใครถามจะได้ตอบได้อย่างรวดเร็ว
ลักษณะของ รถไฟฟ้าสายสีชมพู
ลักษณะของรถไฟฟ้าสายสีชมพู ใช้การเดินรถแบบรางเดียว หรือที่เรียกว่า Mono Rail ที่สามารถบรรจุผู้โดยสารได้มากถึง 28,000 คน ส่วนเวลาที่ใช้ในการเดินรถจะช้ากว่าปกติ เพราะใช้ความเร็วได้แค่ 80 กม. / ชม. เท่านั้น แต่ถ้าเทียบกับการจราจรด้านล่าง ทางเลือกนี้น่าจะเป็นทางเลือกที่มาอันดับต้น ๆ
เส้นทางการเดินรถ
เส้นทางการเดินรถไฟฟ้าสายสีชมพู กินระยะทางที่ค่อนข้างยาว จึงแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ โดยในแต่ละระยะก็จะมีสถานีต่าง ๆ คือ
- หลักสี่
- ราชภัฏพระนคร
- วัดพระศรีมหาธาตุ
- รามอินทรา
- ลาดปลาเค้า
- รามอินทรา
- มัยลาภ
- วัชรพล
- รามอินทรา
- คู้บอน
- รามอินทรา กม.9
- วงแหวนรามอินทรา
- นพรัตน์
- บางชัน
- สถานีเศรษฐบุตรเพ็ญ
- ตลาดมีนบุรี
- มีนบุรี
ระยะที่ 2 เริ่มจากศูนย์ราชการ นนทบุรี – ทีโอที แบ่งได้ทั้งหมด 13 สถานี
- ศูนย์ราชการนนทบุรี
- แคราย
- สนามบินน้ำ
- สามัคคี
- กรมชลประทาน
- แยกปากเกร็ด
- เลี่ยงเมืองปากเกร็ด
- แจ้งวัฒนะ – ปากเกร็ด 28
- ศรีรัช
- เมืองทองธานี
- แจ้งวัฒนะ 14
- ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ
- โทรคมนาคมแห่งชาติ
ระยะที่ 3 ซึ่งเป็นส่วนต่อขยาย เมืองทองธานีจะมีแค่ 2 สถานี คือ
- อิมแพ็ค เมืองทองธานี
- ทะเลสาปเมืองทอง
จากระยะการเดินรถดังกล่าวในตอนนี้มีเพียงระยะที่ 1 – ระยะที่ 2 ที่มีกำหนดการเปิดใช้ในปีพ.ศ. 2566 ส่วนระยะที่ 3 มีกำหนดเปิดใช้ในปีพ.ศ. 2568 ถ้ามองภาพรวมเส้นทางการเดินรถ ก็นับว่า รถไฟฟ้าสายสีชมพู เป็นการแก้ปัญหาจราจรที่เข้าท่า เพราะคนที่เดินทางในเมืองย่อมรู้ดีว่าในช่วงเวลาเร่งด่วนนั้น รถมากมายมาติดกันอยู่ในเส้นทางเดียว ทำให้เกิดปัญหารถติดสะสมจนไปทำงานไม่ทัน หากมีการเปิดใช้ก็ค่อยมาดูกันอีกทีว่า ราคาที่ต้องจ่ายเพื่อซื้อเวลาคุ้มค่าพอหรือไม่