ฝีดาษลิง โรคระบาดใหม่ที่ต้องระวัง รู้ก่อนป้องกันไว้ ถ้าย้อนกลับไปเมื่อหลายสิบปีก่อน ในสมัยรุ่นพ่อรุ่นแม่ ของเราก็จะรู้จักกับไข้ทรพิษ หรือ ไวรัสฝีดาษ ที่มาจากเชื้อไวรัสวาริโอลา ซึ่งเป็นการติดเชื้อจาก คนสู่คน โดยผ่านผู้ติดเชื้อ เช่น การใช้สิ่งของร่วมกัน หรือการหายใจ แล้วมีละออง สารคัดหลั่งติดเข้าไป ก็มีโอกาสที่จะได้รับเชื้อได้สูงมาก และหากติดขึ้นมาแล้ว เชื้อจะใช้เวลาฟักตัวในช่วง 7 – 17 วัน ผู้ติดเชื้อก็จะเริ่มมีอาการต่าง ๆ เช่น ปวดหัว, อาเจียน, เป็นผื่น ฯลฯ แต่บางรายก็อาจหนักถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งในสมัยนั้นทำได้เพียงปลูกฝีเพื่อเป็นการป้องกัน
แต่เด็กยุคนี้ไม่จำเป็นต้องปลูกฝีอีกต่อไป เพราะว่าโรคนี้ได้ถูกประกาศว่าสูญพันธุ์ไปเกือบ 50 ปีแล้วโดยการรับรองจากองค์การอนามัยโรค ทำให้เด็กยุคนี้แทบจะไม่เคยได้ยินชื่อโรคนี้มาก่อน แต่ถ้าตามข่าวสารจะเห็นว่าตอนนี้มีข่าวเกี่ยวกับ ฝีดาษลิง ที่กำลังระบาดอยู่ในแถบยุโรป และอเมริกาเหนืออยู่ ถึงแม้ว่าจะยังไม่ระบาดมาถึงประเทศไทย แต่ถ้าเราเตรียมตัวรับมือกับ ฝีดาษลิง โรคระบาดใหม่ที่ต้องระวัง รู้ก่อนป้องกันไว้ ก็จะช่วยทำให้เราดูแลตัวเองได้ดีขึ้น
ฝีดาษลิง เกิดจากอะไร?
ฝีดาษลิง มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส orthopoxvirus ที่ใกล้เคียงกับไวรัสในคน แต่มีโอกาสน้อยมากที่จะติดจากสัตว์สู่คน เว้นแต่จะถูกสัตว์ตระกูลลิง หรือสัตว์ตระกูลฟันแทะต่าง ๆ เช่น กระต่าย, กระรอก หรือหนูมาข่วน หรือกัด ส่วนใหญ่จะพบในแถบแอฟริกากลาง และแถบตะวันตก
อาการของโรค ฝีดาษลิง
อาการของโรคฝีดาษลิง แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ
- ระยะก่อนออกผื่น โดยอาการเริ่มแรกก็จะมีอาการปวดหัว, ปวดหลัง, อ่อนเพลีย และต่อมน้ำเหลืองโต ต่างจากฝีดาษคน นอกจากนี้ก็จะมีอาการท้องเสีย, อาเจียน, เจ็บคอ, ไอ ร่วมด้วย
- ระยะออกผื่น หลังจากอาการเริ่มต้นเกิดขึ้นแล้วในช่วง 1 – 3 วัน ผิวหนังส่วนต่าง ๆ เช่น ใบหน้า, แขน, ขาจะเริ่มมีผื่นขึ้น และเปลี่ยนไปตามลำดับภายในเวลาประมาณ 2 – 4 สัปดาห์ ซึ่งจะคล้ายกับฝีดาษคน
การติดต่อของโรค ฝีดาษลิง
- สัมผัสเชื้อโดยตรง ซึ่งอาจเป็นบริเวณที่ยังมีเชื้ออยู่ เช่น ผื่น, แผล, ตุ่มหนอง และสะเก็ด
- สัมผัสกับสารคัดหลั่งในทางเดินหายใจ และช่องปาก เช่น การจูบ และการมีเพศสัมพันธ์
- สัมผัสข้าวของของใช้ เช่น ใช้ของร่วมกัน, สัมผัสกับเสื้อผ้าที่มีเชื้อ และยังไม่ได้ทำความสะอาด
- ส่งต่อจากแม่สู่ลูก เมื่อแม่มีอาการติดเชื้อก็สามารถติดไปยังทารกในครรภ์ได้
วิธีป้องกันโรค ฝีดาษลิง
- ไม่เข้าใกล้สัตว์ป่วย โดยเฉพาะตระกูลลิง และตระกูลสัตว์ฟันแทะ
- ทำความสะอาดมือทุกครั้ง โดยใช้ได้ทั้งสบู่ และแอลกอฮอล์ เมื่อสัมผัสกับสัตว์ หรือสิ่งสกปรก
- ไม่สัมผัสสารคัดหลั่งของสัตว์ เช่นบาดแผลที่มีเลือด หรือน้ำเหลือง
- ไม่สัมผัสสารคัดหลั่งของคน ที่มีความเสี่ยงว่าจะติดเชื้อ
- สวมหน้ากากอนามัย ในสถานที่ที่มีความเสี่ยง เพื่อป้องกันการหายใจเอาสารละอองเข้าไป
แต่ถ้าเกิดเผลอไปสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ ให้รีบไปรับวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษภายใน 14 วัน เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
การรักษาโรค ฝีดาษลิง
การรักษาโรคฝีดาษลิง อาจจะไม่ได้มีการรักษาได้ 100% แต่ว่า จะเป็นการรักษาแบบ ประคองอาการ ซึ่งอาจมีการให้ทั้งสารน้ำทางหลอดเลือดดำ เพื่อลดการเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน เพราะ ปกติแล้วโรคนี้สามารถหายเองได้ในเวลาไม่เกิน 1 เดือน แต่ถ้าผู้ติดเชื้อ มีภูมิคุ้มกันต่ำก็มีโอกาสเสียชีวิต โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ดังนั้น ถ้าใครเป็นผู้ติดเชื้อก็ให้ใช้วิธีดูแลผิวหนังที่ติดเชื้อ ฝีดาษลิง ดังนี้
- ห้าม แกะ หรือเกาในบริเวณที่เป็นแผล
- รักษาความสะอาด ในบริเวณที่เป็นแผลด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำยาฆ่าเชื้อ
- ล้างมือ ทุกครั้งเมื่อมีการสัมผัสบริเวณที่ติดเชื้อ
- เปิดบริเวณที่เป็นผื่น ให้สามารถระบายอากาศ เพื่อไม่ให้อับชื้น
- หากมีอาการผิดปกติ เช่น อาการปวด, บวมแดง, เป็นหนอง ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที