การ ลงทะเบียนว่างงานออนไลน์ เป็นวิธีที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ว่างงานได้มากขึ้น หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า สามารถลงทะเบียนว่างงานทางออนไลน์ได้ เพื่อขอรับเงินชดเชยจากสำนักประกันสังคม เพราะเมื่อก่อน ถ้าคุณจะขึ้นทะเบียนคนว่างงาน ต้องเดินทางไปที่สำนักประกันสังคมในแต่ละพื้นที่เท่านั้น
การลงทะเบียนว่างงาน เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ที่อยู่ในระบบแรงงานที่จ่ายเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 33 มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในช่วง 15 เดือนก่อนว่างงาน ซึ่งผู้ประกันตนจะต้องเป็นผู้ทำเรื่องลงทะเบียนและรายงานตัวด้วยตัวเองทั้งหมด แต่กับการลงทะเบียนว่างงานทางออนไลน์ จะต้องทำอย่างไร ใช้เอกสารอะไรบ้าง ติดตามทางบทความนี้ได้เลย
เงื่อนไขผู้ประกันตนที่สามารถ ลงทะเบียนว่างงานออนไลน์
- เป็นผู้ประกันตน ม.33 ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 เดือน ภายในช่วง 15 เดือนก่อนที่จะว่างงาน ไม่ว่าจะลาออกเอง เลิกจ้าง หรือว่างงานจากเหตุสุดวิสัย
- ว่างงานตั้งแต่ 8 วันขึ้นไป
- รายงานตัวออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของกรมการจัดหางาน เดือนละครั้ง
- ขึ้นทะเบียนว่างงานผ่านเว็บไซต์กรมการจัดหางานภายใน 30 วัน เพื่อไม่ให้เสียสิทธิในการรับเงินทดแทน
- ไม่เป็นผู้มีสิทธิได้รับผลประโยชน์ทดแทน กรณีชราภาพ
- ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39
- ไม่ถูกเลิกจ้างในกรณี ทุจริตต่อหน้าที่
- หากลงทะเบียนว่างงานในช่องทางออนไลน์ ให้เตรียมไฟล์สำเนาบัญชีธนาคาร ประเภทออมทรัพย์ ระบุชื่อและเลขบัญชีของผู้ประกันตน
วิธีการ ลงทะเบียนว่างงานประกันสังคม
- ไปที่เว็บไซต์ https://e-service.doe.go.th/
- เลือก “เข้าสู่ระบบสำหรับบุคคลทั่วไป” หรือลงทะเบียนเฉพาะผู้ใช้งานใหม่ตามขั้นตอน
- กดยินยอมการให้ใช้ข้อมูล
- กด “ขึ้นทะเบียนรายงานตัวผู้กันตน กรณีว่างงาน” และกด “ดำเนินการต่อ”
- กรอกข้อมูลส่วนตัวของคุณให้ครบถ้วน
- กดเลือกเมนู “ขึ้นทะเบียนว่างงาน”
- กรอกข้อมูลและรายละเอียดทั้งหมด ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล, วุฒิการศึกษา, สถานการณ์ออกจากงาน ให้ครบถ้วน
- กรอกข้อมูลแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม กรณีว่างวาง (สปส.2-01/7)
- แนบไฟล์สำเนาบัญชีธนาคาร ประเภทออมทรัพย์ ระบุชื่อและเลขบัญชีของผู้ประกันตน
- กดบันทึก ก็เป็นอันเสร็จสิ้น
การรายงานตัวหลัง ลงทะเบียนว่างงานออนไลน์
- เข้าเว็บไซต์ https://unemploy.doe.go.th/welcome
- เลือก “เข้าสู่ระบบสำหรับบุคคลทั่วไป”
- กด “ขึ้นทะเบียนรายงานตัวผู้ประกันตน กรณีว่างงาน” และกดไปที่ “ดำเนินการต่อ”
- กดเลือกเมนู “รายงานตัว”
หลังจากกดลงทะเบียนและรายงานตัวแล้ว สามารถตรวจสอบสถานะ การรับผลประโยชน์ทดแทนได้ที่เว็บไซต์เดิม
ลงทะเบียนว่างงานได้เงินเท่าไหร่
ตามเงื่อนไขประกันสังคม ผู้ประกันตนจะได้รับเงินทดแทน ดังนี้
- ในกรณีที่ถูกเลิกจ้าง จะได้รับเงินทดแทน 50% ของค่าจ้างรายวัน ครั้งละไม่เกิน 180 วัน/ปี
- ในกรณีสิ้นสุดสัญญาจ้าง หรือลาออกเอง ได้รับเงินทดแทน 30% ของค่าจ้างรายวัน ครั้งละไม่เกิน 90 วัน/ปี
ลงทะเบียนว่างงานออนไลน์ คือช่องทางที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ว่างงานได้ อีกทั้งยังเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ผู้ที่อยู่ในระบบแรงงานไม่ควรมองข้าม เพียงแค่คุณทำตามขั้นตอนที่กล่าวมาทั้งหมด คุณก็สามารถรับเงินทดแทนในช่วงที่คุณยังว่างงานได้