ไขมันช่องท้อง อันตราย ต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด คงไม่มีสาว ๆ คนไหนที่อยากจะมี ไขมัน ช่องท้อง ในร่างกาย เพราะร่างกายของคนเรา ทำหน้าที่เผาผลาญ ไม่หมดจึงก่อให้เกิดไขมัน ที่สะสมอยู่ในร่างกาย ทำให้ไขมันสะสมกัน ไปเกาะอยู่ระหว่างกล้ามเนื้อท้อง กับอวัยวะในช่องท้อง ส่งผลให้ร่างกาย มีลักษณะลงพุง พุงย้วย พุงย้อย ซึ่งนอกจากจะเสียบุคลิกภาพแล้ว ยังถือเป็นอันตรายต่อสุขภาพอีกด้วย เนื่องจากไขมันในช่องท้อง จะไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือด ที่ไปหล่อเลี้ยงร่างกาย ทำให้ก่อเกิดเป็นโรคภัยต่าง ๆ มากมาย จึงอยากจะให้ตระหนัก ถึงผลเสียของ ไขมัน ช่องท้อง อันตราย ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการมีไขมันหน้าท้อง เพื่อที่จะป้องกัน และ แก้ไข ตลอดจนหาทางในการลดไขมันหน้าท้อง เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นนั่นเอง
ไขมันช่องท้อง เกิดจากสาเหตุอะไร
ไขมัน ช่องท้อง มักจะเกิดจากพฤติกรรม การรับประทานอาหาร คนที่ชอบกินอาหารที่มีไขมัน คาร์โบไฮเดรต และ น้ำตาลในปริมาณที่เกินจำเป็น จะส่งผลให้ร่างกายเผาผลาญไม่หมด เกิดเป็นไขมันแทรกสะสมอยู่ในร่างกาย ยิ่งหากใครที่ไม่ชอบออกกำลังกายเลย ชีวิตประจำวันไม่มีการขยับหรือเคลื่อนไหวไม่ใช้พลังงาน ก็จะค้นพบ ภาวะไขมันช่องท้อง ได้เช่นเดียวกัน
อันตรายที่เกิดจาก ไขมันช่องท้อง
หากใครมีรอบเอวหรือหน้าท้องที่ใหญ่มาก ๆ จากภาวะ ไขมัน ช่องท้อง จะมีภาวะความเสี่ยงเป็น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมอง เสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม การที่ร่างกายสะสมไขมันเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จะส่งผลร้ายต่ออวัยวะในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น หัวใจ สมอง กล้ามเนื้อ ตับ หรือ ปอด ไขมันที่สะสมอยู่ในเนื้อเยื่อเซลล์ของอวัยวะเหล่านี้จะส่งผลให้การไหลเวียนโลหิตของร่างกาย เกิดภาวะตีบตัน ร่างกายจะอ่อนแอลง และมีโอกาสเป็นโรคเรื้อรังมากมาย ที่มีสาเหตุจาก ไขมัน ช่องท้อง อันตราย ที่จะเกิดขึ้นกับร่างกาย ดังนี้
- โรคเบาหวาน การมีไขมันในช่องท้องจะทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลินส่งผลให้ร่างกายจะนำอินซูลินมาใช้ไม่ได้จึงมีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานสูง
- โรคความดันโลหิตสูง สาเหตุเกิดจาก ไขมัน ช่องท้อง จะกระตุ้นให้ระดับอินซูลินในเลือดสูงขึ้นส่งผลให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้
- โรคหัวใจ เกิดจากภาวะที่ไขมันอุดตันในเส้นเลือดหรือไปเกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนเลือดผิดปกติ ส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือด หรือหัวใจทำงานหนักเกินกว่าปกติได้
- โรคอัลไซเมอร์ หากมี ไขมัน ช่องท้อง ที่มีปริมาณมากเกินไปจนไปอุดตันตามหลอดเลือดแดง จะส่งผลให้การไหลเวียนของโลหิตไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ เกิดสมองฝ่อตัวทำให้เป็นโรคอัลไซเมอร์ได้
- ภาวะหยุดหายใจในขณะนอนหลับ สาเหตุเกิดจากการที่ไขมันไปอุดตันขัดขวางการขยายตัวของปอดจึงหายใจได้ไม่เป็นปกติ ร่างกายมีความเสี่ยงที่จะหยุดหายใจในขณะนอนหลับได้
- ภาวะโรคเลือดสมองหรือ Stroke การมีไขมันมากเกินไปจะทำให้หลอดเลือดในสมองเกิดการตีบตัน เกิดภาวะโรคหลอดเลือดสมองได้ง่าย
- ภาวะโรคภูมิแพ้ เกิดจากไขมันปริมาณมากเกินไปอุดตันอยู่ตามหลอดเลือดต่างๆ ส่งผลให้ระบบของภูมิคุ้มกันทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพเกิดภาวะภูมิแพ้ได้ง่าย
สัญญาณอันตรายที่บ่งบอกว่ามี ไขมัน ช่องท้อง มากเกินไป
หากมี ไขมัน ช่องท้อง ในปริมาณที่มากเกินไป จะส่งผลอันตรายต่อสุขภาพอย่างแน่นอน ดังนั้น จึงควรที่จะดูแลสุขภาพ ร่างกายของตัวเอง ตลอดจน หมั่นตรวจสุขภาพของตัวเองอยู่เสมอ ๆ เพื่อที่จะไม่พบสัญญาณอันตราย ในการที่จะบ่งบอกว่าร่างกาย เริ่มถึงจุดวิกฤต จากภาวะ ไขมันในช่องท้อง ดังต่อไปนี้
- ไม่ควรมีระดับความดันโลหิตสูงตั้งแต่ 130/85 มิลลิเมตรปรอท ขึ้นไป
- ไม่ควรมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่า 100 มิลลิกรัม ต่อเดซิลิต
- ระดับไขมันไตรกลีเซอรีนไม่ควรสูงกว่า 150 มิลลิกรัม ต่อเดซิลิตร
- ระดับไขมันเอชดีแอลคอเลสเตอรอลไม่ควรเกิน 40 มิลลิกรัม ต่อเดซิลิตร
- ไม่ควรมีรอบเอวที่หนาเกินค่ามาตรฐาน ผู้ชายไม่ควรเกิน 90 เซนติเมตร ผู้หญิงไม่ควรเกิน 80 เซนติเมตร
- ไม่ควรอ้วนลงพุง ไม่ควรมีหน้าท้องย้วยเป็นชั้น หรือยื่นป่องออกมา
การป้องกันรักษาภาวะ ไขมัน ช่องท้อง
หากมี ไขมันช่องท้อง มากจนก่อให้เกิดอันตราย ส่งผลเสียต่อสุขภาพ สามารถที่จะรักษาได้ โดยการปรึกษาแพทย์ ซึ่งจะทำการ วัดไขมันในเลือด และ ตรวจสุขภาพเพื่อเช็คระดับไขมัน ในช่องท้อง ค่าปกติ และ คอเลสเตอรอลในร่างกาย แพทย์อาจจะรักษาโดยการใช้ยาลดไขมัน และ วิธีการอื่น ๆ ตามความเหมาะสม นอกจากนี้ควรจะต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีการควบคุมอาหาร โดยลดการกินอาหาร ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ลดแป้ง ลดคาร์โบไฮเดรต ลดน้ำตาลลง งดเว้นน้ำตาล ของหวาน ของทอด ของมัน ตลอดจนมีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อช่วยเสริมความแข็งแรงของร่างกาย และหัวใจ กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และ ให้ปอดทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ควรต้องงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ ก็จะสามารถป้องกัน รักษาภาวะ ไขมัน ช่องท้อง ได้ดีส่งผลสุขภาพที่ดีมากยิ่งขึ้น
Website : สุขภาพ
อ้างอิง : วิกิพีเดีย