10 เรื่องประกันสังคมชวนรู้ปี 2566

          ประกันสังคมมาตรา 33, ประกันสังคมมาตรา 39 และ ประกันสังคมมาตรา 40 เป็นสิ่งที่หลายคนรู้จัก ดังนั้น เราจะมา Update ล่าสุด 10 เรื่องประกันสังคมชวนรู้ปี 2566 ให้ฟังกันว่าสิทธิ์ที่ ผู้ประกันตน ควรได้รับมีอะไรบ้าง

การรับสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคม 10 เรื่องประกันสังคมชวนรู้ปี 2566

1. คุ้มครองการว่างงาน ใช้ได้กับ ประกันสังคมมาตรา 33 โดยมีเงื่อนไขว่า ผู้ประกันตน ต้องส่งเงินไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนว่างงาน กรณีถูกเลิกจ้างจะได้รับเงินชดเชยร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 180 วัน ส่วนกรณีลาออกจะได้เงินชดเชยร้อยละ 30 ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน 

          2. ค่าคลอดบุตร ใช้ได้กับ ประกันสังคมมาตรา 33 และ ประกันสังคมมาตรา 39 ครั้งละ 15,000 บาท (ไม่เกิน 2 ครั้ง / ปี) และได้รับเงินชดเชยร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ระหว่างลาคลอด ภายใต้เงื่อนไขการจ่ายเงินไม่ต่ำกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนวันคลอด

          3. ค่าทันตกรรม ใช้ได้กับ ประกันสังคมมาตรา 33 และ ประกันสังคมมาตรา 39 โดยการรักษาเบื้องต้น เช่น การขูดหินปูน, การถอนฟัน, การอุดฟัน (ไม่เกิน 900 บาท / ปี) หากต้องใส่ฟันปลอมจะได้รับเงินไม่เกิน 4,400 บาท ภายใต้เงื่อนไขการจ่ายเงินไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนวันรักษา

          4. ตรวจสุขภาพ ใช้ได้กับ ประกันสังคมมาตรา 33 และ ประกันสังคมมาตรา 39 ฟรี 14 รายการ / ปี เช่น การคัดกรองการได้ยิน, ตรวจเต้านม, ตรวจดวงตา ฯลฯ ส่วนการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้เฉพาะ ผู้ประกันตน ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป และต้องรับสิทธิ์ที่โรงพยาบาลในโครงการ

          5. สงเคราะห์บุตร (แผน 3) ใช้ได้กับทุกมาตรา โดย ผู้ประกันตน จะได้รับเงินจำนวน 800 บาท / เดือน / บุตร 1 คน (ไม่เกินครั้งละ 3 คน) ภายใต้เงื่อนไขการจ่ายเงินไม่ต่ำกว่า 12 เดือน ภายใน 36 เดือนก่อนได้รับเงินทดแทน เมื่อบุตรมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์สิทธิ์นี้จะสิ้นสุดลง

          6. ชราภาพ (แผน 2 และแผน 3) ใช้ได้กับทุกมาตรา โดยมีการจ่ายเงินให้ ผู้ประกันตน ที่มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ เลือกได้ 2 แบบ คือ

          6.1 บำนาญชราภาพ เป็นการจ่ายแบบรายเดือน หากจ่ายครบ 180 เดือน / 15 ปี จะได้รับเงินร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย แต่ถ้าจ่ายมากกว่า 180 เดือน / 15 ปี ก็จะได้รับเพิ่มขึ้นเป็น 1.5% จากอัตรา 20% ทุกปี

          6.2 บำเหน็จชราภาพ เป็นการจ่ายเงินก้อนในครั้งเดียว หากจ่ายเงินน้อยกว่า 12 เดือน จะได้รับเงินเท่าที่ส่งตามจริง แต่ถ้าจ่ายมากกว่า 12 เดือนขึ้นไป จะได้รับส่วนของนายจ้างด้วย รวมกับผลตอบแทนอื่นจากที่ สำนักงานประกันสังคม กำหนด

          7. อุบัติเหตุ / เจ็บป่วย ใช้ได้กับทุกมาตรา โดยสามารถเข้ารับการรักษายังโรงพยาบาลที่สังกัด ไม่ว่าจะเป็นเจ็บป่วยทั่วไป หรือฉุกเฉินก็ไม่ต้องสำรองจ่าย เว้นแต่กรณีฉุกเฉินในโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่ต้องสำรองจ่ายภายใน 72 ชั่วโมง ส่วนค่ารักษาเบิกได้ตามการรักษาจริง ถ้าแพทย์มีการสั่งให้พักจะได้รับเงินชดเชย 50% ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน หาก ผู้ประกันตน คนไหนเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งเต้านม, ก้อนเนื้อที่มดลูก, โรคนิ่วในไต / ถุงน้ำดี, โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจและหลอดเลือด สามารถเข้ารับการรักษาได้ตามโรงพยาบาลที่กำหนด โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

          8. ทุพพลภาพ ใช้ได้กับทุกมาตรา ถ้าเป็นกรณีร้ายแรง ผู้ประกันตน จะได้รับเงินชดเชยร้อยละ 50 ของค่าจ้างแบบรายเดือนตลอดชีวิต หากรักษาในโรงพยาบาลรัฐ ก็จะได้รับสิทธิ์การจ่ายตามจริง แต่ถ้ารักษาที่โรงพยาบาลเอกชน จะได้รับเงินไม่เกิน 2,000 บาท / เดือน (ผู้ป่วยนอก) และได้รับเงินไม่เกิน 4,000 บาท / เดือน (ผู้ป่วยใน)

          9. เสียชีวิต ใช้ได้กับทุกมาตรา แบ่งเป็น ประกันสังคมมาตรา 33 และ ประกันสังคมมาตรา 39 จะได้รับเงินค่าทำศพ 50,000 บาท รวมกับเงินสมทบ 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 4 เดือน ภายใต้เงื่อนไขการจ่ายเงินตั้งแต่ 36 – 120 เดือน หากจ่ายเงินตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินสมทบ 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 12 เดือน ส่วน ประกันสังคมมาตรา 40 มีแผนการจ่ายเงิน 3 แบบ คือ แผน 1 และแผน 2 จะได้เงินค่าทำศพ 25,000 บาท ถ้าจ่ายเงินครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต จะได้รับเงินเพิ่ม 8,000 บาท ส่วนแผน 3 จะได้เงินแค่ค่าทำศพ 25,000 บาท 

          10. การลดหย่อนภาษี ใช้ได้กับทุกมาตรา โดยให้ตามการจ่ายจริง