ไม่ใช่ทุกคนที่จะชอบการย้อนรอยประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะเรื่องของ การเมือง ที่มีความซับซ้อน เพราะว่าเราไม่อาจรู้ได้ว่าความจริงที่เกิดขึ้นมันคืออะไร แต่ถ้าพาย้อนไปสัก 50 ปี หลายคนน่าจะเคยได้ยินเรื่อง 14 ตุลา สงครามประชาชน มากันบ้างแล้ว แต่อาจจะไม่รายละเอียดมากนัก 14 ตุลา 2516 เหตุการที่คนไทย ไม่เคยลืม วันนี้เราเลยจะมาเล่าแบบย่อ ๆ ให้ฟังแบ่งเป็น 10 ข้อย่อยเพื่อจะได้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
มีเหตุการณ์อะไรบ้างในวันที่ 14 ตุลา 2516 เหตุการที่คนไทย ไม่เคยลืม
1. ระบอบเผด็จการ เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2500 โดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็นผู้ยึดอำนาจ และเปลี่ยนแปลงคณะรัฐบาล หรือที่เรียกว่า รัฐประหาร มาจาก จอมพล ป.พิบูลสงคราม หลังจากนั้นเป็นต้นมาจึงทำให้ประเทศไทยตกอยู่ภายใต้ ระบอบเผด็จการ ด้วย การสืบทอดอำนาจนายกรัฐมนตรี ของ จอมพลถนอม กิตติขจร ผู้เป็นทายาททางการเมืองของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
2. การปฏิวัติตัวเองของจอมพลถนอม กิตติขจร เนื่องด้วย จอมพลถนอม กิตติขจร ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี มานานหลายปีก็เลย ปฏิวัติตัวเอง ด้วยการ สืบทอดอำนาจ ให้ตัวเองกับพรรคพวกแบบไม่เห็นแก่ประชาชน เช่น การต่ออายุราชการในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด
3. การใช้อาวุธสงครามล่าสัตว์ คณะทหาร รวมถึงนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่กลุ่มหนึ่งมี การใช้อาวุธสงครามล่าสัตว์ ในป่าทุ่งใหญ่นเรศวร แต่ไม่มีใครทำอะไรได้ ยังผลให้ ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ออกมาเปิดโปง ด้วยหนังสือที่ชื่อว่า บันทึกลับจากทุ่งใหญ่ แต่กลายเป็นว่านักศึกษาจำนวน 9 คน ต้องถูกไล่ออกจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
4. การชุมนุมประท้วง เกิดจากความไม่พอใจที่มาจากเหตุการณ์นักศึกษาทั้ง 9 คน ได้ถูกไล่ออกจากมหาวิทยาลัย ทำให้เกิด การชุมนุมประท้วง ขึ้นในวันที่ 21 – 27 มิถุนายน ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จนทำให้ทางมหาวิทยาลัยต้องคืนสถานภาพให้ พร้อมกับอธิการบดีต้องลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบ
5. การแจกใบปลิวนำไปสู่การถูกจับกุม เนื่องจากผู้ชุมนุมเห็นความไม่เป็นธรรม จึงมีการเรียกร้องรัฐธรรมนูญด้วยการแจกใบปลิว แต่กลับถูกตำรวจจับคุมขังทั้งหมด 15 คน ด้วยข้อหาเป็นคอมมิวนิสต์ สร้างความเกลียดชังให้ทั้งผู้ชุมนุม และประชาชนเป็นอย่างมาก จึงทำให้มีการ ชุมนุมประท้วง ให้ปล่อยตัวผู้ถูกจับกุมภายในวันที่ 13 ตุลาคม 2516 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
6. คลื่นมนุษย์ขนาดใหญ่ การ ชุมนุมประท้วง ที่เกิดขึ้นจากความไม่พอใจเริ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงทำให้เห็น คลื่นมนุษย์ขนาดใหญ่ พากันเดินขบวนจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปยังถนนราชดำเนิน เนื่องจากรัฐบาลไม่ตอบสนองกับข้อเรียกร้องดังกล่าว ซึ่งระหว่างการเดินขบวนก็มีการ์ดคอยรักษาความปลอดภัย โดยนักเรียนอาชีวะที่มาจากหลายสถาบัน
7. การปะทะระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ ในช่วงหัวค่ำของวันที่ 13 ตุลาคม 2516 วิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ได้มีการประกาศว่ารัฐบาลจะทำตามข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมทั้งการปล่อยตัวผู้ต้องหา และการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ แต่ด้วยความที่จำนวนคนมีมาก ประกอบกับมีการปล่อยข่าวลือต่าง ๆ จนทำให้ผู้ชุมนุมสับสน และเกิด การปะทะระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ ทำให้มีผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิตจำนวนหนึ่ง
8. หวังพึ่งบารมี แกนนำนักศึกษาได้พาขบวนเคลื่อนไปยัง หน้าสวนจิตรลดา ในเวลา 00.00 น. (เข้าเช้าวันที่ 14 ตุลาคม 2516)เพื่อ หวังพึ่งบารมี ของในหลวง โดยหลังจากที่ผู้แทนพระองค์ได้อ่านพระบรมราโชวาทแล้ว ผู้ชุมนุมก็เริ่มพากันแยกย้าย แต่อยู่ ๆ ก็เกิดการปะทะกันขึ้นมาอีก ทำให้ผู้ชุมนุมทำลาย สัญลักษณ์เผด็จการ ตามที่ต่าง ๆและเจ้าหน้าที่ก็ทำการสลายการจลาจล ทำให้บาดเจ็บล้มตายกันเป็นจำนวนมาก
9. ปิดฉากการสืบทอดอำนาจ ในช่วงเย็นของ วันที่ 14 ตุลาคม 2516 จอมพลถนอม กิตติขจร ประกาศลาออกจากตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี แต่ยังคงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด และมีการแถลงการณ์ให้ทหาร และตำรวจใช้กำลังปราบปรามนักศึกษาต่อไป ในเวลาต่อมา จอมพลถนอม กิตติขจร ก็ต้องลาออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด เพราะถูกกดดัน และออกนอกประเทศไป ปิดฉากการสืบทอดอำนาจ ระยะเวลา 16 ปีเต็ม
10. เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 หลังจาก ระบบเผด็จการ หมดสิ้นไปจากประเทศไทย ประชาชนก็กลับเข้าสู่ ระบอบประชาธิปไตย แต่เพียงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น เพราะเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2519 จอมพลถนอม กิตติขจร ได้กลับเข้ามาในประเทศไทยอีกครั้ง และก่อให้เกิดการสังหารอย่างอำมหิตใน เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519