โรคไขมันพอกตับ อันตรายกว่าที่คิด ใคร ๆ ก็เป็นได้ เราไม่ควรมองข้าม ไขมันพอกตับ อันตรายกว่าที่คิด ใคร ๆ ก็เป็นได้ เราไม่ควรมองข้าม การเกิดโรคภัยในร่างกายของมนุษย์เป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ เพราะปัจจัยที่เกิดขึ้นก็มีส่วนมาจากพฤติกรรมในการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเป็นอยู่ หรือว่าอาหารการกิน แต่บางคนที่ถูกโรคภัยคุกคามก็อาจเนื่องมาจากปัจจัยอื่นอย่างเช่น การเกิดจากพันธุกรรม บางโรคที่ไม่ร้ายแรงอาจหายเองได้ภายในเวลาสั้น ๆ บางโรคอาจแสดงอาการรุนแรงตั้งแต่ที่เป็นครั้งแรก ซึ่งการเกิดโรคลักษณะนี้อาจไม่ค่อยอันตรายมากนัก เพราะมันสามารถมองเห็นได้จากการแสดงออก แต่ก็มีบางโรคที่ไม่ได้แสดงอาการแล้วค่อย ๆ สะสมอย่าง ไขมันพอกตับ ที่ต้องบอกว่าถ้าปล่อยไปเรื่อย ๆ แล้วไม่ทำการรักษามันก็อาจจะไม่ได้หยุดแค่โรคนี้เพียงอย่างเดียว
สาเหตุของการเกิด โรคไขมันพอกตับ
สาเหตุของการเกิดโรคไขมันพอกตับ เกิดจากตับที่มีไขมันสะสมมากเกินไป และไขมันนั้นไม่ได้ถูกใช้ หรือไม่ได้ถูกย่อยสลายก็จะทำให้เกิดอาการตับอักเสบ ซึ่งภาวะ ไขมันพอกตับ เกิดจากพฤติกรรม 2 แบบหลัก ๆ คือ
- เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งสาเหตุนี้เกิดในนักดื่มมากที่สุด เพราะแอลกอฮอล์ส่งผลต่อตับโดยตรง ถ้ามีการดื่มติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ หรือดื่มในปริมาณมาก โอกาสที่จะเกิด ไขมันพอกตับ ก็เป็นไปได้สูง แต่ถ้าพักการดื่ม หรือเลิกไปเลยก็จะดี ตับจะได้กลับมาทำงานตามปกติภายใน 4 – 6 สัปดาห์
- ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ ในส่วนนี้อาจเกิดจากสภาพร่างกายของคนนั้น ๆ อันเนื่องมาจากโรคต่าง ๆ ที่เป็นอยู่แล้ว เช่น เบาหวาน, ไขมันในเลือดสูง หรือพฤติกรรมในการกิน เช่น ชอบกินของทอด, ของมัน แล้วไม่ค่อยชอบออกกำลังกาย เป็นต้น
จะรู้ได้อย่างไรเมื่อเกิดโรคไขมันพอกตับ
สำหรับ โรคไขมันพอกตับ เป็นสิ่งที่แทบจะสังเกตอะไรไม่ได้เลย เพราะมันไม่ได้แสดงอาการออกขนาดนั้น แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เกิดโรคนี้ขึ้นมาก็จะมีอาการดังต่อไปนี้
- เกิดอาการอ่อนเพลีย แม้ว่าจะพักผ่อนมาอย่างเต็มที่แล้ว แต่ก็ยังรู้สึกไม่มีเรี่ยวแรง ซึ่งสาเหตุเกิดจากตับที่ทำงานผิดปกตินั่นเอง
- เบื่ออาหาร เมื่อถึงเวลากินอาหารจะรู้สึกไม่อยาก นั่นเป็นเพราะว่าระบบเผาผลาญเริ่มมีการทำงานผิดปกติ และร่างกายใช้น้ำตาลได้ไม่เต็มที่
- แน่นท้อง หรือท้องอืด เนื่องจากตับทำงานผิดปกติ มันจึงส่งผลไปยังระบบย่อยอาหาร ที่ทำงานอย่างผิดปกติก็เลยจะเกิดอาการที่กล่าวมา
- เจ็บชายโครงด้านขวา ด้วยความที่ตับมีอาการอักเสบ จึงทำให้เกิดอาการบวม และบริเวณนี้ก็เป็นที่อยู่ของตับจึงทำให้เจ็บบริเวณนี้ได้
- นอนไม่หลับ เนื่องด้วยความผิดปกติของตับ จึงทำให้การหลั่งสารที่ช่วยเรื่องการนอนหลับลดลง จึงสามารถเกิดภาวะการนอนไม่หลับได้
- คันตามผิวหนัง เมื่อตับทำงานผิดปกติก็เลยเกิดการคั่งของน้ำดี และมันก็ส่งผลไปยังกระแสเลือด ทำให้เกิดอาการคัน
กลุ่มความเสี่ยงที่จะเกิดโรคไขมันพอกตับ
จริง ๆ แล้ว โรคไขมันพอกตับ สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศ ทุกวัย หากอยากรู้ว่าตัวเองจะมีโอกาสกลายเป็นหนึ่งใน กลุ่มความเสี่ยงที่จะเกิดโรคไขมันพอกตับ หรือไม่ก็ลองดูได้ที่ข้อมูลด้านล่าง
- ภาวะโรคอ้วน ผู้ชายรอบเอวเกิน 40 นิ้ว และผู้หญิงรอบเอวเกิน 35 นิ้ว
- ภาวะไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงกว่า 150 มิลลิกรัม / เดซิลิตร
- โรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน และไขมันในเลือดสูง
- ความดันเลือดสูงมากกว่า 140 / 90 มิลลิกรัม / เดซิลิตร
- ไขมันดีต่ำ ผู้ชายน้อยกว่า 40 มิลลิกรัม / เดซิลิตร และผู้หญิงน้อยกว่า 50 มิลลิกรัม / เดซิลิตร
การรักษาโรคไขมันพอกตับ
- เลี่ยง หรือเลิกเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- งดกินอาหารมัน, อาหารทอด, ย่าง
- งดของต่าง ๆ จำพวกขนม, น้ำหวาน, แป้งที่มีน้ำตาลสูง
- ออกกำลังบริเวณหน้าท้อง เพื่อช่วยลดไขมันช่วงท้อง และตับ
- กินยาเท่าที่จำเป็น เพื่อไม่ให้ตับทำงานหนักเกินไป
- กินอาหารไขมันต่ำ และมีกากใยสูง
เมื่อลองปรับพฤติกรรมต่าง ๆ ตามที่กล่าวมาแล้ว ก็จะเห็นว่าตับที่เคยทำงานอย่างผิดปกติ ก็จะค่อย ๆ ปรับสภาพกลับมาเป็นเหมือนเดิม นอกจากนี้ยังสามารถกินอาหารเสริมที่มีประโยชน์ เพื่อช่วยบำรุงตับได้ด้วย