นอนไม่หลับ เหนื่อยมากแต่นอนไม่หลับ อันตราย ที่ไม่ควรมองข้าม

นอนไม่หลับ เหนื่อยมากแต่นอนไม่หลับ อันตราย ที่ไม่ควรมองข้าม รู้สึกเหนื่อยมาก แต่พอหัวถึงหมอนแล้วนอนไม่หลับ เป็นสัญญาณเตือนของร่างกายที่อันตรายมาก ต้องรีบหาวิธีแก้ไขอย่างเร่งด่วน

ด้วยยุคสมัยนี้การแข่งขันค่อนข้างสูงคนรุ่นใหม่ ๆ ก็พากัน เรียน ทำงาน แข่งขันกัน เพื่อให้ได้ตามเป้า จึงทำให้เกิดสภาวะเครียดสะสม ซึ่งเป็นผลทำให้นอนไม่หลับ ไม่ว่าจะเหนื่อยแค่ไหนก้ตาม เพราะในหัวจะมีการย้ำคิดย้ำทำในสิ่งที่ตนเองกังวล จึงทำให้หลับยาก ส่งผลให้ร่างกายมีความต่อต้าน เมื่อเราอยากจะหลับ แต่ร่างกายต้อวลงการที่จะตื่น สมดุจร่างกายเสีย สุขภาพเสีย ส่งผลให้ป่วยล้มหมอนนอนเสื่อ ซึ้งไม่คุ้มค่าเลย

นอนไม่หลับ

อาการ นอนไม่หลับ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

  1. หลับยาก  เมื่อถึงเวลานอน พอหัวถึงหมอน จัดท่าทางที่ตนเองสบาย พร้อมที่จะหลับตา แต่ดันนอนไม่หลับ นอนอยู่เป็น ชั่วโมงกว่าจะหลับ
  2. หลับไม่สนิท เป็นอาการของคนที่หลับไปแล้ว แต่มักจะตื่นขึ้นมาตอนกลางดึก เช่น หลับ 2 ทุ่ม ตื่นมาตอน 4 ทุ่ม เที่ยงคืน พอตื่นขึ้นมาแล้วทำให้ตาสว่าง ไม่สามารถทำให้กลับไปนอนต่อได้ทันที ทำให้กินเวลาไปเป็นชั่วโมงกว่าจะหลับ จึงเป็นอีกสาเหตุที่พอรุ่งเช้า ที่ต้องตื่น ทำให้รู้สึกไม่สดชื่น และอาจเกิดสภาวะปวดหัวได้ในต่อมา
  3. หลับ ๆ ตื่น ๆ อาการคือหลับไปแล้ว แปป ๆ ตื่น อยู่แบบนี้ทั้งคืน รู้สึกเหมือนจะเคลิ้มหลับ แต่ก็จะสดุงตื่นอยู่ตลอดเวลา อาการแบบนี้ส่งผลเสียต่อร่างกายมาก

การที่เรานอนหลับไม่เต็มที่ จะทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ทำงาน หรือ เรียนไม่รู้เรื่อง ไม่มีสมาธิในการทำกิจกรรม ต่าง ๆ ระหว่างวัน เพราะจะรู้สึกงว่ง อยู่ตลอดเวลา ทำให้กระทบกับงาน และ การเรียน

การ นอนไม่หลับ เป็นอาการทางจิตหรือไม่

การนอนไม่หลับมีหลายสาเหตุ ไม่จำเป็นต้องเป็นอาการทางจิตอย่างเดียวเสมอไป ปัจจัยที่ทำให้เรานอนไม่หลับมีหลายสาเหตุ ทั้งปัจจัยภายนอก เช่น อยู่ในที่สภาพอาการเป็นลบไม่ส่งผลดีดีต่อสุขภาพ อากาศร้อนเกินไป หรือ อากาศหนาวเกินไป อยู่ในห้องที่มีแสงสว่างมากเกินไป อาหารหรือเครื่องดื่ม ที่เราดื่มก่อนนอน 6 ชั่วโมงมี คาเฟอีน หรือไม่ มีอาการหิวหรืออิ่มที่มากเกินไป หรือการทำงานที่มีการเข้ากะเช้า บ่าย หรือกะดึก ทำให้ร่างกายปรับสภาพการนอนไปในแต่ละช่วง ถ้าเข้ากะดึกบ่อย ๆ แล้วกลับมาเข้ากะเช้า ก็อาจทำให้นอนไม่หลับในเวลากลางคืนได้เช่นกัน 

แต่ถ้าหากตัวเรามีข้อสงสัยว่าเรามีอาการทางจิตหรือไม่ ที่ทำให้นอนไม่หลับ ก็ควรพบจิตแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจอย่างละเอียด เพื่อความสบายใจของเราเองดีที่สุด

นอนไม่หลับ

อาการนอนไม่หลับนานแค่ไหนถึงควรเข้าพบแพทย์

ถ้าเราเกิดอาการนอนไม่หลับ ติดต่อกันนาน เกิน 3 วัน ในแต่ละสัปดาห์ และกินระยะเวลาไปเป็นเดือน ควรที่จะเข้าพบแพทย์ เพื่อรักษา ก่อนที่ร่างกายจะแย่จนไม่สามารถแก้ไขได้ ซึ่งอาการนอนไม่หลับ จะส่งผลกระทบ เช่น อารมณืแปรปรวน สมาธิสั้น ความสามารถในการจำลดลง รวมถึงส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเรียน การทำงาน ร่วมไปถึงการลดการพบปะผู้คนลดลง

นอนไม่หลับ

วิธีการป้องกันการนอนไม่หลับ

  1. ควรหลีกเลี่ยงการใช้ตัวช่วยที่ทำให้หลับ เช่น ยานอนหลับ
  2. หมั่นหากิจกรรมทำ เช่น การออกกำลังกายจะออกเบาหรือหนักก้แล้วแต่เรา แต่ต้องทำเป็นประจำ การออกกำลังการช่วยให้หลับได้ดีในตอนกลางคืน
  3. ไม่ควรดื่มน้ำมากจนเกินไปในตอนกลางคืนก่อนเข้านอน เพราะอาจจะทำให้เวลานอนมีการปวดปัสสาวะ ทำให้ต้องลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำกลางดึก ถ้ามีการหิวน้ำก่อนนอนให้ใช้การจิบน้ำแค่พอหายกระหายน้ำก็พอ
  4. เมื่อถึงเวลาเข้านอนแล้วรู้สึกนอนไม่หลับ ให้ลองหากิจกรรม ทำก่อนนอนสัก 10-20 นาที แล้วค่อยลองเข้านอนอีกครั้ง
  5. ปรับสร้างบรรยากาศในห้องนอน ให้มีบรรยากาศเย็นสบาย อบอุ่น ปรับไฟไม่ให้สว่างมาก หรือทำให้มืด เท่านี้ก็จะทำให้เราหลับงานขึ้น
  6. งดเล่นมือถือก่อนเข้านอน 30 นาที เพื่อลดการเล่นจนเพลินเลยเวลานอนทำให้นอนไม่หลับ
  7. ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มา คาเฟอีน ก่อนนอน 6 ชั่วโมง
  8. ไม่ปล่อยให้ตัวเองรู้สึกหิว หรือ กินอิ่มมากเกินไป
  9. อย่างีบในตอนกลางวัน หรือ พักเที่ยง เพราะจะทำให้เรานอนไม่หลับในตอนกลางคืน

วิธีการข้างต้น ช่วยทำให้นอนหลับง่ายขึ้น เพียงแต่ต้องใช้เวลาการทำสม่ำเสมอ เป็นเดือน ถึงจะได้ผลอย่างยั่งยืน