สิทธิประโยชน์ บัตรทอง ครอบคลุมเรื่องใดบ้าง?

พื้นฐานการใช้ชีวิตของคนเราที่นอกจากเรื่องอยู่เรื่องกินแล้ว ก็มีเรื่องความเจ็บป่วยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง ส่วนความรุนแรงของความเจ็บปวดก็แล้วแต่โรคที่เป็น สำหรับผู้มีเงินน้อยก็อาจต้องจำใจไปรับคิวแต่เช้า แล้วก็รอเรียกเพื่อเข้ารับการตรวจ แต่จะเป็นเวลาไหนก็ขึ้นอยู่กับจำนวนคนที่มารอ โดยผู้ที่จะได้รับประสบการณ์แบบนี้จะต้องมี สิทธิบัตรทอง ซึ่งเป็น หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่รักษาได้แทบจะทุกโรคตั้งแต่โรคธรรมดาไปจนถึงโรคร้ายแรง เดี๋ยวเราจะมาดูกันว่า สิทธิประโยชน์ บัตรทอง ครอบคลุมเรื่องใดบ้าง?

สิทธิประโยชน์ บัตรทอง มีดีงนี้

  1. ทันตกรรม เช่น อุดฟัน, ถอนฟัน, ขูดหินปูน ฯลฯ สามารถเข้ารับการรักษาได้ฟรี
  2. การตรวจวินิจฉัยโรค ซึ่งอาจเป็นโรคทั่วไป หรือเป็นโรคเฉพาะทางอย่าง มะเร็ง, วัณโรค, HIV
  3. การตรวจ และรับฝากครรภ์ ของหญิงตั้งครรภ์
  4. การทำคลอด โดยหญิงตั้งครรภ์สามารถคลอดบุตรได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
  5. การบำบัด และการบริการทางการแพทย์
  6. ค่ายา, เวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์
  7. การกินอยู่ในหน่วยบริการ
  8. การบริบาลทารกแรกเกิด
  9. บริการรถพยาบาล สำหรับรับ – ส่งผู้ป่วย
  10. บริการรถรับ – ส่งผู้ทุพพลภาพ
  11. การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย และจิตใจเพื่อรองรับคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ที่ต้องได้รับการฟื้นฟู
  12. บริการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก เช่น การนวด, ประคบสมุนไพร
  13. บริการสาธารณสุขอื่น ๆ ที่จำเป็น
  14. การบำบัดรักษาฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด
  15. การบริการสาธารณสุขที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุการประสบภัยจากรถ
  16. การรักษาโรคแบบมีระยะเวลา (ผู้ป่วยใน)

จาก สิทธิประโยชน์ ข้างต้นนับว่าเป็นสวัสดิการที่ครอบคลุมแทบจะทั้งหมด แล้วก็ไม่ต้องเสียเงินในการเข้ารับการรักษา แต่ถ้าหากสถานพยาบาลนั้นเป็นระดับตั้งแต่ชุมชนขึ้นไป ผู้เข้ารับการรักษาจะต้องจ่ายเงินจำนวน 30 บาท / ครั้ง ยกเว้นผู้ที่ไม่ประสงค์จ่ายค่าบริการ (สามารถแจ้งความจำนงได้ที่หน่วยบริการ) กับบุคคล 20 กลุ่มตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ส่วน สิทธิประโยชน์ที่ไม่ครอบคลุม มีดังนี้

  1. เพื่อความสวยงาม เช่น การศัลยกรรมที่ไม่เกี่ยวกับความเจ็บป่วย
  2. การตรวจวินิจฉัย และการรักษาที่เกินความจำเป็นตามความเห็นแพทย์
  3. การรักษาที่อยู่ระหว่างการค้นคว้าทดลอง
  4. การปลูกถ่ายอวัยวะที่ไม่ปรากฏตามบัญชีแนบท้าย
  5. การบริการทางการแพทย์อื่น ๆ

ตัวอย่าง 15 โรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง หรือเป็นโรคเรื้อรัง

  1. โรคมะเร็ง
  2. ผ่าตัดสมอง
  3. โรคปอดระยะสุดท้าย
  4. การผ่าตัดรักษาข้อเข่าเสื่อม
  5. การปลูกถ่ายตับ
  6. โรคหลอดเลือดสมอง
  7. ปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต
  8. ผู้ติดเชื้อ HIV
  9. การผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา
  10. โรคหายาก
  11. โรคหัวใจ        
  12. โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
  13. โรคที่เกิดจากการดำน้ำ
  14. รักษาด้วยออกซิเจนความกดดันสูง 
  15. โรคอื่นๆ

การเข้ารับรักษาในสถานพยาบาล

          นำบัตรประจำตัวประชาชนยื่นให้กับ สถานพยาบาลประจำ เพื่อเข้ารับรักษาได้ทันที แต่ถ้าจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาทันทีในพื้นที่อื่น สามารถเข้า สถานพยาบาลปฐมภูมิ ได้ทุกที่ตามนโยบาย และในกรณีฉุกเฉินสามารถเข้า สถานพยาบาลที่อยู่ใกล้ ได้เลย

          ส่วนคนที่ยังไม่รู้ สิทธิประโยชน์ ของตัวเองก็สามารถเลือกเข้าตรวจสอบ สิทธิประโยชน์ ได้ง่าย ๆ หรือถ้าใครมีข้อสงสัยอื่น ๆ ที่อยากรู้ก็สามารถเข้าไปถามได้ผ่านช่องทางที่แจ้งไว้ด้านล่าง ซึ่งมีความสะดวกเป็นอย่างมาก เพราะเราไม่ต้องเดินทางไปถึงที่แบบเมื่อก่อน แค่มีมือถือเครื่องเดียวก็สามารถติดต่อเรื่องที่อยากรู้ได้เลย