ภาวะไขมันในเลือดสูง อันตรายแค่ไหน และควรรักษายังไง

ปกติการทำงานของ ไขมัน ที่ถูกสร้างมาจากตับ ก็จะถูกส่งไปใช้ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการย่อยอาหาร หรือการสร้างฮอร์โมน ถ้าเรายังกินอาหารที่มี ไขมัน มากเกินความจำเป็น และสภาพร่างกายมีระบบเผาผลาญที่ผิดปกติก็จะทำให้เกิด ภาวะไขมันในเลือดสูง ได้ โดย ไขมัน ในร่างกายมีทั้งชนิดดีกับชนิดไม่ดี หากใครอยากรู้ว่าตัวเองจะเกิดภาวะนี้หรือไม่ แนะนำให้ไปทำการตรวจสุขภาพ ซึ่งผู้ที่จะไปรับการตรวจควรเตรียมตัวให้พร้อม ด้วยการงดอาหารเป็นเวลา 8 – 12 ชั่วโมง

ประเภทของไขมันในเลือด ภาวะไขมันในเลือดสูง

  • Total cholesterol คือ ค่าคอเลสเตอรอลรวม (HDL, LDL และ Non – HDL)
  • Low density lipoprotein (LDL) คือ คอเลสเตอรอลไม่ดี ถ้าใครตรวจพบว่ามีค่า LDL สูง จะทำให้เกิดความเสี่ยงในเรื่องหลอดเลือดตีบแคบ, การไหลเวียนเลือดผิดปกติ และหลอดเลือดเปราะ
  • High density lipoprotein (HDL) คือ คอเลสเตอรอลดี ที่ช่วยลดการสะสมไขมันในหลอดเลือด 
  • Non – HDL คือ ผลจาก Total cholesterol ลบกับ HDL จึงประกอบด้วย LDL และไขมันชนิดอื่น ๆ
  • Triglycerides คือ คอเลสเตอรอลไม่ดี เพราะมันสามารถทำให้หลอดเลือดตีบแคบ คล้ายกับ LDL
ภาวะไขมันในเลือดสูง

ภาวะไขมันในเลือดสูงเกิดจากอะไร

ภาวะไขมันในเลือดสูง เกิดได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการกินอาหารที่มีไขมันสูง, ไม่ออกกำลังกาย, สูบบุหรี่, ดื่มแอลกอฮอล์, กรรมพันธุ์, โรคประจำตัว เช่น ตับ, ไตวาย, เบาหวาน รวมไปถึงการใช้ยาชนิดต่าง ๆ เช่น ยาคุมกำเนิด, ยาต้านไวรัส HIV หากปล่อยไว้ก็จะทำให้เกิดอันตราย เพราะมันจะเป็นการสะสมในหลอดเลือด และส่งผลให้เกิด ภาวะแทรกซ้อน ทั้งหัวใจขาดเลือด, โรคหลอดเลือดสมอง, หัวใจหยุดเต้น, โรคไต ฯลฯ

ภาวะไขมันในเลือดสูงมีการแสดงอาการอย่างไร

สำหรับผู้ที่เริ่มเป็น ไขมันในเลือดสูง ในช่วงระยะแรก ๆก็จะไม่ค่อยปรากฏอาการให้เห็น เว้นแต่ว่าจะเจอ ภาวะแทรกซ้อน ที่จะแสดงผลกระทบอย่างชัดเจน เช่น หากเกิดภาวะหลอดเลือดสมอง จะทำให้เป็นอัมพฤกษ์ /  อัมพาต แต่ถ้าเกิดภาวะขาดเลือด ก็จะทำให้เกิดอาการเหนื่อยง่าย หรือมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก นอกจากนี้ถ้าใครมีภาวะไขมันในเลือดสูง จากกรรมพันธุ์ ก็อาจเห็น ไขมันบนผิวหนัง ตรงหางตา หรือวงไขมันรอบกระจกตาได้ชัด

ภาวะไขมันในเลือดสูง

แนวทางการรักษาภาวะไขมันในเลือดสูง

ไม่ว่าเราจะมีน้ำหนักที่ปกติ หรือว่ามีน้ำหนักเกินเกณฑ์ก็ตาม เราควรจะไปตรวจระดับไขมันในเลือดอยู่เป็นประจำ และหากตรวจพบว่ามีภาวะไขมันในเลือดสูง ในระดับที่ไม่รุนแรง สามารถรักษาได้โดยไม่ต้องพึ่งยา แพทย์ก็อาจจะแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน โดยการลดอาหารจำพวกที่มีไขมันสูง เช่น ของทอด, ของมัน, ขนมปังชนิดต่าง ๆ รวมไปถึงการออกกำลังกาย, การเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ และการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน แต่ถ้าหากทำตามคำแนะนำแล้วภาวะไขมันในเลือดสูง ไม่ลดลง แพทย์ก็อาจเปลี่ยนวิธีโดยการจ่ายยาลดไขมันแทน

อาหารที่เหมาะกับผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง

  1. เนื้อสัตว์ ที่ไม่ติดมัน และไม่ติดหนัง
  2. เนื้อปลาทะเล สัปดาห์ละ 3 มื้อ
  3. ไข่ขาว เพราะมีคุณค่าทางโปรตีน, ไม่มีไขมัน และมีแคลอรีต่ำ
  4. น้ำมันพืช ในการประกอบอาหารควรน้ำมันถั่วเหลือง, น้ำมันทานตะวัน, น้ำมันรำข้าว
  5. ผัก และผลไม้ ควรกินเป็นประจำ ถ้ามีโรคอื่นร่วมควรปรึกษานักโภชนาการก่อน
  6. ถั่ว และผลิตภัณฑ์ที่มาจากถั่ว เช่น ถั่วแดง, ถั่วเหลือง, ถั่วเขียว, เต้าหู้, โปรตีนเกษตร
  7. นม และผลิตภัณฑ์จากนม ชนิดพร่องมันเนย หรือขาดมันเนย
  8. เลือกกินอาหารให้เหมาะสม โดยในแต่ละวันต้องกินให้ครบ 5 หมู่ 

อาหารที่ไม่เหมาะกับผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง

  1. เนื้อสัตว์ติดมัน เช่น หมูสามชั้น
  2. เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ
  3. ไข่แดงจากสัตว์ เช่น ไข่ปลา
  4. น้ำมันพืชที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันมะพร้าว และไม่ควรกินอาหารที่มีสิ่งนี้เป็นส่วนประกอบ
  5. เนย / เนยสด ที่เป็นส่วนประกอบของขนมต่าง ๆ เช่น คุกกี้