เมื่อผู้ประกันตน ม.33 ม.39 เสียชีวิต ทายาทมีสิทธิ์รับเงินกับประกันสังคมยังไง สำหรับ สิทธิ์รับเงินกับประกันสังคม เป็นสิ่งที่ ผู้ประกันตน ทุกคนต้องได้รับ แต่ทุกอย่างต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขตามที่ สำนักงานประกันสังคม กำหนด ถ้าใครที่เข้าเงื่อนไข แล้ว ก็ไม่ต้องห่วงว่าจะไม่ได้รับสิทธิ์ แค่ทำตามกฎระเบียบก็รอรับเงินได้เลย แต่ถ้าวันหนึ่ง ผู้ประกันตน เกิดเสียชีวิตจากโรคภัย หรืออุบัติเหตุต่าง ๆ แล้วใครล่ะที่จะได้รับช่วงต่อนั้น? จะเป็นพ่อเป็นแม่ เป็นลูก หรือว่าเป็นญาติกันแน่? วันนี้เราเลยจะมาคลายข้อสงสัยที่ว่า เมื่อผู้ประกันตน ม.33 ม.39 เสียชีวิต ทายาทมีสิทธิ์รับเงินกับประกันสังคมยังไง
เงื่อนไขการเบิกเงินประกันสังคม เมื่อผู้ประกันตน ม.33 ม.39 กรณีเสียชีวิต ได้ทั้งหมด 3 สิทธิ์ คือ
- ประกันสังคมจ่ายเงินค่าทำศพจำนวน 50,000 บาท ให้กับผู้จัดการศพที่ ผู้ประกันตน ทำหนังสือระบุไว้ เป็นลายลักษณ์อักษรตามลำดับ ดังนี้
- สามี, ภรรยา, บิดา, มารดา, บุตรของ ผู้ประกันตน ที่ต้องมีหลักฐานว่าเป็นผู้จัดการศพ
- บุคคลอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมา แต่ต้องมีหลักฐานเป็นผู้จัดการศพ
- เอกสารขอรับค่าทำศพจำนวน 50,000 บาท ประกอบด้วย
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย (สปส. 2-01)
- บัตรประชาชนตัวจริงของผู้จัดการศพ พร้อมสำเนา
- เอกสารจากสถานที่จัดการศพ
- ใบมรณบัตรตัวจริง พร้อมสำเนา
- สำเนาบัญชีธนาคารออมทรัพย์หน้าแรก ของผู้จัดการศพ
- เงินสงเคราะห์
- จะจ่ายให้กับสามี, ภรรยา, บิดา, มารดา และบุตรของ ผู้ประกันตน ที่ถูกระบุไว้ในหนังสือแบบ เป็นลายลักษณ์อักษร หากไม่ได้มีการระบุแบบเจาะจง ทุกคนที่มีสิทธิ์ก็จะได้รับเงินเฉลี่ยในจำนวนเท่ากัน ซึ่งการจ่ายเงินจะแบ่งไปตามจำนวนเงิน และระยะเวลาของการจ่ายเงินสมทบก่อนเสียชีวิต คือ
- จ่ายเงินตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 120 เดือน จะได้รับเงิน 50% ของค่าจ้าง 4 เดือน
- จ่ายเงินตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินสงเคราะห์ในอัตรา 50% ของค่าจ้าง 12 เดือน
- สมมติว่า ผู้ประกันตน ได้รับเงินเดือนจำนวน 20,000 บาท จ่ายเงินให้ประกันสังคม 120 เดือน โดยการคำนวณก็จะต้องใช้อัตรา 50% ของค่าจ้าง 12 เดือน คิดเป็น 20,000 บาท * 12 เดือน = 240,000 บาท และอัตรา 50% ของค่าจ้าง 12 เดือน จะคิดเป็น 240,000 บาท * 50% = 120,000 บาท
- เมื่อคิดจำนวนเงินที่ต้องได้รับแล้ว ก็จะต้องไปดูว่ามีการระบุชื่อใคร เป็นผู้รับเงินส่วนนี้ หากไม่ได้ระบุชัดเจนก็ต้องแบ่ง ไปในสัดส่วนที่เท่ากัน
- เอกสารสำหรับขอรับเงินสงเคราะห์
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย (สปส. 2-01)
- สำเนาบัตรประชาชนกับสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีสิทธิ์
- สำเนาทะเบียนสมรสของ ผู้ประกันตน และของบิดามารดาของผู้เสียชีวิต (ถ้ามี)
- สำเนาสูติบัตรของบุตร กรณีไม่มีสูติบัตร ให้ใช้สำเนาทะเบียนบ้านของบุตร
- หนังสือที่ระบุให้เป็นผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตาย (ถ้ามี)
- เงินบำเหน็จชราภาพ
- จะจ่ายให้กับผู้มีสิทธิ์ คือ บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย, สามี / ภรรยาตามกฎหมาย, บิดามารดาที่จดทะเบียนสมรส ถ้าหากไม่ได้จด ทะเบียนสมรส จะได้เฉพาะมารดาเพียงคนเดียว และบุคคลอื่นที่ ผู้ประกันตน ได้ระบุไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ทั้งนี้ก็ยังมีรายละเอียดที่ต้องพิจารณาอีก 2 กรณี คือ
- กรณีผู้ประกันตนเสียชีวิตหลังอายุ 55 ปี
- ผู้ประกันตน รับเงินบำนาญชราภาพแล้ว และเสียชีวิตภายใน 60 เดือน นับ จากเดือนที่รับบำนาญ ทายาทจะได้รับเงินบำเหน็จ = จำนวนเงินบำนาญชราภาพเดือนสุดท้ายก่อนเสียชีวิต * จำนวนเดือนที่เหลือจนครบ 60 เดือน
- ผู้ประกันตน กลับไปเป็นผู้ประกันตน และเสียชีวิต โดยได้รับเงินบำนาญไม่เกิน 60 เดือน ทายาทจะได้รับเงินบำเหน็จ = จำนวนเงินบำนาญชราภาพที่ได้รับก่อนกลับไปเป็นผู้ประกันตน * จำนวนเงินเดือนที่เหลือจนครบ 60 เดือน
- ผู้ประกันตน รับเงินชราภาพ ก่อนบังคับใช้กฎกระทรวง แต่ยังไม่ครบ 60 เดือน ทายาทจะได้รับเงินบำเหน็จ = เดือนที่เหลือจนครบ 60 เดือน
- ผู้ประกันตน รับเงินชราภาพแล้วเหลือน้อยกว่า 10 เดือน ทายาทจะได้รับเงินบำเหน็จ = จำนวนเงินบำนาญชราภาพ ที่ได้รับเดือนสุดท้ายก่อนเสียชีวิต * 10 เท่า
- กรณีผู้ประกันตนเสียชีวิตก่อนอายุ 55 ปี
- ผู้ประกันตน จ่ายเงินสมทบน้อยกว่า 12 เดือน ทายาทจะได้รับเงินบำเหน็จ = เงินสมทบที่จ่ายไว้
- ผู้ประกันตน จ่ายเงินสมทบมากกว่า 12 เดือน แต่ไม่ถึง 180 เดือน ทายาทจะได้รับเงินบำเหน็จ = เงินสมทบที่ผู้ประกันตน รวมกับส่วนของนายจ้างที่จ่ายเงินสมทบไว้ให้