ประกันสังคมมาตรา 33, ประกันสังคมมาตรา 39 และ ประกันสังคมมาตรา 40 เป็นสิ่งที่หลายคนรู้จัก ดังนั้น เราจะมา Update ล่าสุด 10 เรื่องประกันสังคมชวนรู้ปี 2566 ให้ฟังกันว่าสิทธิ์ที่ ผู้ประกันตน ควรได้รับมีอะไรบ้าง
การรับสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคม 10 เรื่องประกันสังคมชวนรู้ปี 2566
1. คุ้มครองการว่างงาน ใช้ได้กับ ประกันสังคมมาตรา 33 โดยมีเงื่อนไขว่า ผู้ประกันตน ต้องส่งเงินไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนว่างงาน กรณีถูกเลิกจ้างจะได้รับเงินชดเชยร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 180 วัน ส่วนกรณีลาออกจะได้เงินชดเชยร้อยละ 30 ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน
2. ค่าคลอดบุตร ใช้ได้กับ ประกันสังคมมาตรา 33 และ ประกันสังคมมาตรา 39 ครั้งละ 15,000 บาท (ไม่เกิน 2 ครั้ง / ปี) และได้รับเงินชดเชยร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ระหว่างลาคลอด ภายใต้เงื่อนไขการจ่ายเงินไม่ต่ำกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนวันคลอด
3. ค่าทันตกรรม ใช้ได้กับ ประกันสังคมมาตรา 33 และ ประกันสังคมมาตรา 39 โดยการรักษาเบื้องต้น เช่น การขูดหินปูน, การถอนฟัน, การอุดฟัน (ไม่เกิน 900 บาท / ปี) หากต้องใส่ฟันปลอมจะได้รับเงินไม่เกิน 4,400 บาท ภายใต้เงื่อนไขการจ่ายเงินไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนวันรักษา
4. ตรวจสุขภาพ ใช้ได้กับ ประกันสังคมมาตรา 33 และ ประกันสังคมมาตรา 39 ฟรี 14 รายการ / ปี เช่น การคัดกรองการได้ยิน, ตรวจเต้านม, ตรวจดวงตา ฯลฯ ส่วนการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้เฉพาะ ผู้ประกันตน ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป และต้องรับสิทธิ์ที่โรงพยาบาลในโครงการ
5. สงเคราะห์บุตร (แผน 3) ใช้ได้กับทุกมาตรา โดย ผู้ประกันตน จะได้รับเงินจำนวน 800 บาท / เดือน / บุตร 1 คน (ไม่เกินครั้งละ 3 คน) ภายใต้เงื่อนไขการจ่ายเงินไม่ต่ำกว่า 12 เดือน ภายใน 36 เดือนก่อนได้รับเงินทดแทน เมื่อบุตรมีอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์สิทธิ์นี้จะสิ้นสุดลง
6. ชราภาพ (แผน 2 และแผน 3) ใช้ได้กับทุกมาตรา โดยมีการจ่ายเงินให้ ผู้ประกันตน ที่มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ เลือกได้ 2 แบบ คือ
6.1 บำนาญชราภาพ เป็นการจ่ายแบบรายเดือน หากจ่ายครบ 180 เดือน / 15 ปี จะได้รับเงินร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย แต่ถ้าจ่ายมากกว่า 180 เดือน / 15 ปี ก็จะได้รับเพิ่มขึ้นเป็น 1.5% จากอัตรา 20% ทุกปี
6.2 บำเหน็จชราภาพ เป็นการจ่ายเงินก้อนในครั้งเดียว หากจ่ายเงินน้อยกว่า 12 เดือน จะได้รับเงินเท่าที่ส่งตามจริง แต่ถ้าจ่ายมากกว่า 12 เดือนขึ้นไป จะได้รับส่วนของนายจ้างด้วย รวมกับผลตอบแทนอื่นจากที่ สำนักงานประกันสังคม กำหนด
7. อุบัติเหตุ / เจ็บป่วย ใช้ได้กับทุกมาตรา โดยสามารถเข้ารับการรักษายังโรงพยาบาลที่สังกัด ไม่ว่าจะเป็นเจ็บป่วยทั่วไป หรือฉุกเฉินก็ไม่ต้องสำรองจ่าย เว้นแต่กรณีฉุกเฉินในโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่ต้องสำรองจ่ายภายใน 72 ชั่วโมง ส่วนค่ารักษาเบิกได้ตามการรักษาจริง ถ้าแพทย์มีการสั่งให้พักจะได้รับเงินชดเชย 50% ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน หาก ผู้ประกันตน คนไหนเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งเต้านม, ก้อนเนื้อที่มดลูก, โรคนิ่วในไต / ถุงน้ำดี, โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจและหลอดเลือด สามารถเข้ารับการรักษาได้ตามโรงพยาบาลที่กำหนด โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
8. ทุพพลภาพ ใช้ได้กับทุกมาตรา ถ้าเป็นกรณีร้ายแรง ผู้ประกันตน จะได้รับเงินชดเชยร้อยละ 50 ของค่าจ้างแบบรายเดือนตลอดชีวิต หากรักษาในโรงพยาบาลรัฐ ก็จะได้รับสิทธิ์การจ่ายตามจริง แต่ถ้ารักษาที่โรงพยาบาลเอกชน จะได้รับเงินไม่เกิน 2,000 บาท / เดือน (ผู้ป่วยนอก) และได้รับเงินไม่เกิน 4,000 บาท / เดือน (ผู้ป่วยใน)
9. เสียชีวิต ใช้ได้กับทุกมาตรา แบ่งเป็น ประกันสังคมมาตรา 33 และ ประกันสังคมมาตรา 39 จะได้รับเงินค่าทำศพ 50,000 บาท รวมกับเงินสมทบ 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 4 เดือน ภายใต้เงื่อนไขการจ่ายเงินตั้งแต่ 36 – 120 เดือน หากจ่ายเงินตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินสมทบ 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย 12 เดือน ส่วน ประกันสังคมมาตรา 40 มีแผนการจ่ายเงิน 3 แบบ คือ แผน 1 และแผน 2 จะได้เงินค่าทำศพ 25,000 บาท ถ้าจ่ายเงินครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต จะได้รับเงินเพิ่ม 8,000 บาท ส่วนแผน 3 จะได้เงินแค่ค่าทำศพ 25,000 บาท
10. การลดหย่อนภาษี ใช้ได้กับทุกมาตรา โดยให้ตามการจ่ายจริง