วันลอยกระทง ประวัติวันลอยกระทง ตำนานและความเชื่อคู่คนไทย

วันลอยกระทง เป็นพิธีการสำคัญอย่างหนึ่งของคนไทย เป็นเทศกาลที่คนไทยให้ความสำคัญและรอคอย เชื่อเหลือเกินว่า วันลอยกระทง2566 นี้หลายคนคงจะเตรียมตัวพาหวานใจหรือครอบครัวไปทำกิจกรรมลอยกระทงร่วมกัน ซึ่งนอกเหนือจากการลอยกระทง จะเป็นกิจกรรมร่วมกันของครอบครัวและชุมชนแล้ว ประเพณีลอยกระทงยังมีตำนานและความเชื่อมากมาย บทความนี้จะนำพาให้ทำความรู้จักกับ วันลอยกระทง ประวัติวันลอยกระทงกันมากขึ้น เพราะหากได้เข้าใจจุดมุ่งหมายตำนานและความเชื่อของประเพณีลอยกระทงที่แท้จริง ก็จะทำให้เข้าถึงความลึกซึ้งของการลอยกระทงได้ดีมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

กำหนดการ วันลอยกระทง ประวัติวันลอยกระทง

เทศกาลวันลอยกระทง จะจัดขึ้นในทุกปีในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติของเมืองไทย จะจัดขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี โดย วันลอยกระทง2566 จะตรงกับวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ซึ่งเป็นช่วงต้นฤดูหนาวอากาศเย็นสบาย เป็นฤดูน้ำเต็มตลิ่งจะมองเห็นสายน้ำอย่างชัดเจน ประกอบกับวันขึ้น 15 ค่ำจะเป็นคืนพระจันทร์เต็มดวงสามารถมองเห็นภาพแสงจันทร์ส่องกระทบกับแม่น้ำ เกิดเป็นภาพที่งดงามเหมาะกับการชื่นชมเป็นที่สุด 

วันลอยกระทง

ความเป็นมาของ วันลอย กระทง ประวัติวันลอยกระทง

ประเพณีลอยกระทง มีการสืบทอดกันมายาวนาน ตั้งแต่สมัยสุโขทัย ถือว่าเป็นงานรื่นเริงที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ประวัติวันลอยกระทง เดิมวิธีลอยกระทงจะเป็นพิธีการลอยโคม มีความเชื่อว่าเป็นพิธีของพราหมณ์ เพื่อทำการบูชาพระผู้เป็นเจ้าทั้ง 3 พระองค์ คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และ พระพรหม ต่อมามีการปล่อยโคม เพื่อบูชา พระบรมสารีริกธาตุ และบูชารอยพระบาทตามความเชื่อ ของพระพุทธศาสนา ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงจะมีการจารึกว่านางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงเป็นคนแรกเพื่อใช้เป็นที่ลอยเทียนประทีป โดยได้มีการจัดประเพณีลอยกระทงขึ้นเป็นประจำในทุกปีตั้งแต่สมัยสมเด็จพระร่วงเจ้าโดยให้ใช้กระทงดอกบัวแทนการจุดโคมลอย โดยประเพณีการลอยกระทงได้สืบทอดต่อกันเรื่อยมาและมีการเปลี่ยนรูปแบบตามยุคสมัยดังที่เห็นในปัจจุบันนี้ 

ประวัติตามความเชื่อของ ประเพณีวันลอยกระทง 

การลอยกระทงจะมีการนำดอกไม้ธูปเทียนหรือสิ่งของใส่ลงในสิ่งประดิษฐ์รูปแบบต่างๆที่ไม่จมน้ำ ไม่ว่าจะเป็นกระทง เรือแพ หรือดอกบัว แล้วนำเอาไปลอยตามแม่น้ำ โดยมีวัตถุประสงค์และประวัติความเชื่อต่างๆมากมายหลากหลาย ดังต่อไปนี้ 

วันลอยกระทง

1. ประวัติวันลอยกระทง

ตามความเชื่อ ความเชื่อของแต่ละท้องถิ่นจะมีจุดประสงค์และความเชื่อในการ ลอยกระทง ที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็น

  • ความเชื่อของพุทธศาสนา จะมีความเชื่อในการลอยกระทงเพื่อบูชาพระพุทธเจ้าบนชั้นฟ้าดาวดึงส์หรือเพื่อเป็นการบูชารอยพระพุทธบาท หรือการลอยกระทงเพื่อต้อนรับการเสด็จกลับจากเทวโลกของพระพุทธเจ้า  เป็นต้น 
  • ความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ฮินดู จะมีการลอยโคมประทีปเพื่อสักการะบูชาเทพเจ้า 3 พระองค์ซึ่งออกมาศาสนาพุทธได้ประยุกต์ในการใช้บูชาพระพุทธเจ้าเช่นเดียวกัน 
  • ความเชื่อเกี่ยวกับพญานาค มีความเชื่อว่าพญานาคมีความสำคัญในการปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนาจึงมีพิธีการลอยกระทงในคืนเดือนเพ็ญเพื่อเป็นการบูชาเพื่อรำลึกถึงบุญคุณของพญานาค  

2. วัตถุประสงค์ของ วันลอย กระทง

การลอยกระทงเกิดจากความเชื่อมากมายหลากหลายประการโดยมีจุดประสงค์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น

  • เพื่อแสดงความสำนึกถึงบุญคุณของแม่น้ำลำธาร ที่ให้ได้อยู่อาศัยในการอุปโภคบริโภค 
  • เพื่อเป็นการขอขมาในพระคุณของพระแม่คงคา ในการที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลขยะมูลฝอยต่างๆลงในแม่น้ำลำธาร 
  • เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ ปล่อยความทุกข์ โศกความเศร้า ลอยสิ่งไม่ดีสิ่งอัปมงคลต่างๆต่างๆให้ล่องลอยไปกับแม่น้ำ 
  • ในภาคเหนือมีความเชื่อว่า เป็นการลอยเพื่อแสดงความเคารพบูชา พระอุปคุต ที่คนในท้องถิ่นให้ความเคารพนับถือ 
  • ในประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีไม่ให้สูญหายไป ตลอดจนเป็นการส่งเสริมทักษะฝีมือความคิดสร้างสรรค์ในการทำกระทง 
  • เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนการท่องเที่ยว เป็นเทศกาลที่มีแต่ความสนุกความบันเทิงรื่นเริงใจจึงได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ
วันลอยกระทง

บทสรุปความสำคัญของ วันลอย กระทง ประวัติวันลอยกระทง

ประเพณี วันลอย กระทง นอกจากจะเป็นการรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรม ที่มีคุณค่า แสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อแม่น้ำลำคลอง หรือบูชาเทพเจ้าตามความเชื่อของศาสนาแล้ว ความสําคัญ ประเพณีลอยกระทง ยังทรงคุณค่า ต่อครอบครัวหมู่บ้านชุมชน และสังคมได้เป็นอย่างดี ทำให้ประชาชนได้มีกิจกรรมร่วมกัน ก่อเกิดความร่วมมือร่วมใจ ความสมัครสมานสามัคคี มีการทำบุญ ซึ่งถือว่าจะช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนา และประเภณีไทย นอกจากนี้ยังถือเป็นโอกาสอันดีที่จะรณรงค์ในเรื่องของจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแม่น้ำลำธารอีกด้วย 

ติดตามข่าวสารใหม่ ๆ ได้ที่

Website : ข่าวทันเหตุการณ

แห่งที่มา : วิกิพีเดีย