ประกันสังคม มาตรา 33 และสิทธิประโยชน์ที่ควรรู้

สิทธิในการเบิกจ่าย ประกันสังคม มาตรา 33 ต่าง ๆ ของคนทำงาน ที่สังกัดอยู่ในบริษัทเอกชน หลายคนจะรู้อยู่แล้วว่า จะไม่ได้เท่ากับสิทธิของภาครัฐ ซึ่งบริษัทเอกชน จะจัดการสมัคร ประกันสังคม ม33 และนำส่งเงินเข้า ประกันสังคม ให้ลูกจ้างอัตโนมัติ และลูกจ้างจะกลายเป็น ผู้ประกันตน ทันที โดยการดำเนินงานของ ประกันสังคม จะเป็นการหักเงินในอัตรา 5% ของเงินเดือนทุกเดือน รวมกับนายจ้าง 5% และรัฐบาลอีก 2.75%

ประกันสังคมมาตรา33 จ่ายเท่าไหร่ ?

สำหรับคนที่สงสัยว่า ประกันสังคมมาตรา 33 จ่ายเท่าไหร่ ? ในส่วนนี้ขึ้นอยู่กับ เงินเดือนของผู้ประกันตน สมมติว่า ผู้ประกันตน ที่ได้รับเงินเดือนตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป ก็จะถูกหักเงินสูงสุดไม่เกิน 750 บาท / เดือน ส่วน ผู้ประกันตน ที่ได้รับเงินเดือนน้อยกว่า 15,000 บาท ก็จะถูกหักเงินลดหลั่นกันไปตามอัตรา เช่น ได้รับเงินเดือน 5,000 บาท ก็จะถูกหักเงิน 250 บาท เป็นต้น

ตัวอย่างการจ่ายเงิน ประกันสังคม มาตรา 33

ประกันสังคม มาตรา 33 ผู้ประกันตนมีสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง ?

ประกันสังคมมาตรา 33 ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์อยู่ 2 อย่าง คือ

1. ลดหย่อนภาษี

2. สิทธิประโยชน์ ประกันสังคม มาตรา 33

ผู้ที่ประกันตน จะได้รับสิทธิประโยชน์ ประกันสังคมมาตรา 33 ใน 7 กรณี ดังนี้

1. ว่างงาน/ตกงาน

  • ได้รับเงินชดเชยการถูกเลิกจ้าง หรือหมดสัญญาจ้าง
  • ในกรณีที่ลาออก จะได้รับเงินชดแชยเช่นกัน แต่ไม่เท่าข้อแรก เพราะเป็นการออกด้วยความสมัครใจ

2. การรักษาพยาบาล

ผู้ประกันตน ประกันสังคมม33 สามารถเข้ารับการรักษา ยังสถานพยาบาลที่เลือกไว้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากมีการตรวจอื่น ๆ เพิ่มที่ต้องจ่ายเอง แต่ถ้าเจ็บป่วยฉุกเฉิน หรือมีการเกิดอุบัติเหตุ ประกันสังคม จะจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ตามจริง ส่วนค่าทำฟัน เช่น ถอน, อุด, ขูดหินปูน, ผ่าตัดฟันคุด จะได้ไม่เกิน 900 บาท/ครั้ง/ปี และในการทำฟัน กรณีอื่นก็จะจ่ายจริง ตามความจำเป็น

3. ค่าคลอดบุตร

ในกรณีผู้ประกันตน ประกันสังคมตามมาตรา 33 สามารถแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือ

  • ฝ่ายหญิง จะได้รับเงินค่าคลอดบุตร และได้รับเงินสงเคราะห์เป็นเวลา 90 วัน
  • ฝ่ายชาย จะได้รับเงินค่าคลอดบุตรอย่างเดียว และไม่ได้รับเงินสงเคราะห์ (ในกรณีที่ฝ่ายหญิงไม่มีประกันสังคม จะใช้สิทธิฝ่ายชายที่มี ประกันสังคมตามมาตรา 33 เบิกได้)

4. สงเคราะห์บุตร ประกันสังคม ช่วยเหลือเงินสงเคราะห์เดือนละ 600 บาท/1 คน/เดือน จนอายุครบ 6 ปี

5. พิการ/ทุพพลภาพ จะได้รับเงินทดแทนในอัตรา 50% ของเงินเดือนตลอดชีวิต และสามารถใช้บริการสถานพยาบาลของรัฐ ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ส่วนสถานพยาบาลเอกชน จะได้รับค่าบริการทางแพทย์ประมาณ 2,000 – 4,000 บาท

6. ชราภาพ แบ่งเป็น 2 แบบ คือ เงินบำเหน็จชราภาพ ที่จะจ่ายเงินทั้งหมดในครั้งเดียว และ เงินบำนาญชราภาพ ที่จ่ายแบบรายเดือน

7. เสียชีวิต จะได้รับเงินทำศพ และเงินสงเคราะห์ตามอัตราระยะเวลาที่ส่งเงิน

จริง ๆ แล้วข้อมูล ประกันสังคม ในแต่ละข้อมีรายละเอียดเยอะมาก หากอยากทำความเข้าใจให้มากขึ้นสามารถเข้าไปที่เว็บไซต์ www.sso.go.th / Application SSO Connect หรือจะโทรไปที่ 1506 เพื่อสอบถามข้อมูลได้ 24 ชม.