บัตรทอง 30 บาท รักษาทุกโรค ได้ทุกที่

บัตรทอง 30 บาท

บัตรทอง 30 บาท รักษาทุกโรค ได้ทุกที่ เรื่องของปัญหาสุขภาพ การเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นสิ่งเราทุกคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และแน่นอนว่าทุกครั้งที่เราเจ็บป่วย ไม่สบาย หรือเป็นโรคต่างๆ ก็จะต้องมีเรื่องของการใช้จ่ายเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งค่ารักษาในแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายที่ไม่น้อยเลยทีเดียว ทำให้หลายคนเลือกที่จะไปซื้อยามารับประทานเพื่อบรรเทาอาการเองและไม่ยอมไปหาหมอเพื่อรักษาให้หายขาด จึงอาจจะตามมาด้วยอาการที่รุนแรงเพิ่มมากขึ้น

แต่อีกหนึ่งข้อควรรู้ ที่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อนนั่นก็คือ คนไทยทุกคนมีสิทธิในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น เราเรียกสิทธินั้นว่า สิทธิบัตรทอง หรือ บัตรทอง30บาท ในบทความนี้เราจึงจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ บัตรทอง30บาท ว่าคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร และใครที่มีสิทธิได้รับบ้าง

บัตรทอง 30 บาท

บัตรทอง 30 บาท หรือ สิทธิบัตรทอง คืออะไร

สิทธิบัตรทอง เป็นสิทธิหลักประกันสุขภาพตามกฎหมายของประเทศไทย ที่มอบให้กับประชาชนได้มีสิทธิ์ในการเข้ารับการรักษา ทั้งในด้านสาธารณสุขและด้านการแพทย์อย่างครอบคลุมทุกด้าน ตั้งแต่การตรวจวินิจฉัยอาการ, การรักษา, การส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคต่างๆ นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ได้กับทางคลินิกเวชศาสตร์หรือแพทย์แผนไทยได้อีกด้วย

สิทธิ บัตรทอง 30 บาท สามารถคุ้มครองเกี่ยวกับบริการด้านใดได้บ้าง

สำหรับผู้ที่ถือ บัตรทอง30บาท สามารถนำสิทธิ์มาใช้กับบริการด้านสาธารณสุขต่างๆ ได้ ดังนี้

  • การตรวจวินิจฉัยโรค
  • การตรวจ รับฝากครรภ์ การทำคลอด รวมไปถึงการบริบาลทารกแรกเกิด
  • บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
  • การบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดสารเสพติด
  • การบำบัดและการบริการทางการแพทย์
  • บริการรถพยาบาล หรือบริการพาหนะรับส่งผู้ป่วยและผู้ทุพพลภาพ
  • การบริการสาธารณสุขที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุและการประสบภัยจากรถยนต์
  • บริการสาธารณสุขด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
  • บริการสาธารณสุขอื่นที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต
  • การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ
  • ยา เวชภัณฑ์ อวัยวะเทียม และอุปกรณ์ทางการแพทย์

นอกจากนี้อาการป่วยทั่วไป ก็สามารถเข้ามารับ สิทธิจากบัตรทอง 30 บาท เพื่อวินิจฉัยอาการและเข้ารับการรักษาได้ โดยต้องมีอาการเบื้องต้นคือ ไอ, จาม, เจ็บคอ, ปวดหัวหรือเวียนหัวอย่างรุนแรง, ปัญหาเกี่ยวกับช่องท้อง, ปัญหาเกี่ยวกับระบบภายใน เช่น การปัสสาวะ หรือ ปัญหาเกี่ยวกับมดลูก, ความผิดปกติเกี่ยวกับหู ตา ปาก, อาการบาดเจ็บเกี่ยวกับข้อและกล้ามเนื้อ, อาการบาดเจ็บทางผิวหนังภายนอก เป็นต้น

ใครบ้างที่มีสิทธิได้รับสิทธิบัตรทอง

สำหรับผู้ที่มีสิทธิครอบครอง บัตรทอง30บาท จะต้องเป็นคนไทยที่มีบัตรประจำตัวประชาชนเลข 13 หลัก ที่ยังไม่เคยได้รับสิทธิเกี่ยวกับการรักษาจากทางรัฐวิสาหกิจ สิทธิประกันสังคม หรือสิทธิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ ได้แก่

  • บุตรข้าราชการคนที่ 4 (เนื่องจากสิทธิ์ข้าราชการคุ้มครองบุตรเพียง 3 คน)
  • ผู้ประกอบอาชีพอิสระและไม่ได้เป็นผู้ประกันตน
  • ข้าราชการที่เกษียณอายุหรือออกจากข้าราชการ โดยไม่มีบำนาญ
  • เด็กแรกเกิด ที่ไม่ได้มีสวัสดิการข้าราชการจากพ่อแม่
บัตรทอง 30 บาท

ขั้นตอนการเช็กสิทธิและการใช้งานสิทธิบัตรทอง

สำหรับผู้ที่ต้องการเช็ก สิทธิบัตรทอง 30 บาท สามารถเช็กได้ด้วยตนเองง่ายๆ โดยมีอยู่ด้วยกัน 6 วิธี คือ

  1. เข้าไปสอบถามด้วยตนเองที่คลินิก สถานีอนามัย หรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน
  2. สอบถามจากทางสำนักงานสาธารณะสุขจังหวัด, สำนักงานเขต, หรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.)
  3. โทรสอบถามที่สายด่วน 1330 กด 2 ตามด้วยเลขบัตรประชาชน 13 หลัก
  4. ตรวจสอบผ่าน Application สปสช.
  5. ตรวจสอบผ่าน LINE Official Account สปสช. @nhso
  6. ตรวจสอบผ่านเว็บไซต์ www.nhso.go.th

เมื่อได้เข้าไปเช็ก สิทธิบัตรทอง 30 บาท แล้วพบว่ามีรายชื่อ ก็สามารถเข้าไปติดต่อกับทางหน่วยบริการประจำตามสิทธิที่ได้รับพร้อมแสดงความจำนงในการใช้ สิทธิบัตรทอง แก่เจ้าหน้าที่ และอย่าลืมแสดงบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง เพื่อเข้ารับบริการและรับการรักษาได้ในขั้นตอนต่อไป

แต่สำหรับท่านใดที่ยังไม่ได้รับ สิทธิบัตรทอง ก็สามารถเข้าไปขอได้กับทางโรงพยาบาลหรือศูนย์บริการด้านสาธารณสุขใกล้บ้านท่านได้เลยทันที โดยต้องมีการเตรียมเอกสารต่างๆ เพื่อเข้าไปขอ บัตรทอง30บาท ได้แก่

  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • สำเนาบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้
  • สำเนาสูติบัตร หรือ สำเนาใบเกิด ซึ่งใช้สำหรับเด็กต่ำกว่าอายุ 15 ปี

สิทธิบัตรทอง 30 บาท เป็นอีกหนึ่งสิทธิในการรักษาพยาบาลของคนไทยที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ประชาชนชาวไทยควรทราย อีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลไปได้มากเลยทีเดียว สำหรับใครที่ไม่รู้ว่าตนเองได้รับ สิทธิบัตรทอง หรือไม่ ก็สามารถเข้าไปตรวจสอบสิทธิตามช่องทางที่เราได้กล่าวไว้ข้างต้น สามารถสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับค่ารักษาอื่นๆ เพิ่มเติมได้กับทางโรงพยาบาลใกล้บ้านท่าน เพื่อการใช้ประโยชน์สูงสุด

Website : สาระน่ารู้

อ้างอิง : วิกิพีเดีย

ชอบบทความนี้แชร์เลย
Scroll to Top