You are currently viewing เมื่อผู้ประกันตน ม.33 ม.39 เสียชีวิต ทายาทมีสิทธิ์รับเงินกับประกันสังคมยังไง

เมื่อผู้ประกันตน ม.33 ม.39 เสียชีวิต ทายาทมีสิทธิ์รับเงินกับประกันสังคมยังไง

เมื่อผู้ประกันตน ม.33 ม.39 เสียชีวิต ทายาทมีสิทธิ์รับเงินกับประกันสังคมยังไง สำหรับ สิทธิ์รับเงินกับประกันสังคม เป็นสิ่งที่ ผู้ประกันตน ทุกคนต้องได้รับ แต่ทุกอย่างต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขตามที่ สำนักงานประกันสังคม กำหนด ถ้าใครที่เข้าเงื่อนไข แล้ว ก็ไม่ต้องห่วงว่าจะไม่ได้รับสิทธิ์ แค่ทำตามกฎระเบียบก็รอรับเงินได้เลย แต่ถ้าวันหนึ่ง ผู้ประกันตน เกิดเสียชีวิตจากโรคภัย หรืออุบัติเหตุต่าง ๆ แล้วใครล่ะที่จะได้รับช่วงต่อนั้น? จะเป็นพ่อเป็นแม่ เป็นลูก หรือว่าเป็นญาติกันแน่? วันนี้เราเลยจะมาคลายข้อสงสัยที่ว่า เมื่อผู้ประกันตน ม.33 ม.39 เสียชีวิต ทายาทมีสิทธิ์รับเงินกับประกันสังคมยังไง

เมื่อผู้ประกันตน ม.33 ม.39 เสียชีวิต

เงื่อนไขการเบิกเงินประกันสังคม เมื่อผู้ประกันตน ม.33 ม.39 กรณีเสียชีวิต ได้ทั้งหมด 3 สิทธิ์ คือ

  1. ประกันสังคมจ่ายเงินค่าทำศพจำนวน 50,000 บาท ให้กับผู้จัดการศพที่ ผู้ประกันตน ทำหนังสือระบุไว้ เป็นลายลักษณ์อักษรตามลำดับ ดังนี้
    • สามี, ภรรยา, บิดา, มารดา, บุตรของ ผู้ประกันตน ที่ต้องมีหลักฐานว่าเป็นผู้จัดการศพ
    • บุคคลอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมา แต่ต้องมีหลักฐานเป็นผู้จัดการศพ
    • เอกสารขอรับค่าทำศพจำนวน 50,000 บาท ประกอบด้วย 
    • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย (สปส. 2-01)
    • บัตรประชาชนตัวจริงของผู้จัดการศพ พร้อมสำเนา
    • เอกสารจากสถานที่จัดการศพ
    • ใบมรณบัตรตัวจริง พร้อมสำเนา
    • สำเนาบัญชีธนาคารออมทรัพย์หน้าแรก ของผู้จัดการศพ
  2. เงินสงเคราะห์
    • จะจ่ายให้กับสามี, ภรรยา, บิดา, มารดา และบุตรของ ผู้ประกันตน ที่ถูกระบุไว้ในหนังสือแบบ เป็นลายลักษณ์อักษร หากไม่ได้มีการระบุแบบเจาะจง ทุกคนที่มีสิทธิ์ก็จะได้รับเงินเฉลี่ยในจำนวนเท่ากัน ซึ่งการจ่ายเงินจะแบ่งไปตามจำนวนเงิน และระยะเวลาของการจ่ายเงินสมทบก่อนเสียชีวิต คือ
    • จ่ายเงินตั้งแต่ 36 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 120 เดือน จะได้รับเงิน 50% ของค่าจ้าง 4 เดือน
    • จ่ายเงินตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป จะได้รับเงินสงเคราะห์ในอัตรา 50% ของค่าจ้าง 12 เดือน
    • สมมติว่า ผู้ประกันตน ได้รับเงินเดือนจำนวน 20,000 บาท จ่ายเงินให้ประกันสังคม 120 เดือน โดยการคำนวณก็จะต้องใช้อัตรา 50% ของค่าจ้าง 12 เดือน คิดเป็น 20,000 บาท * 12 เดือน = 240,000 บาท และอัตรา 50% ของค่าจ้าง 12 เดือน จะคิดเป็น  240,000 บาท * 50% = 120,000 บาท
    • เมื่อคิดจำนวนเงินที่ต้องได้รับแล้ว ก็จะต้องไปดูว่ามีการระบุชื่อใคร เป็นผู้รับเงินส่วนนี้ หากไม่ได้ระบุชัดเจนก็ต้องแบ่ง ไปในสัดส่วนที่เท่ากัน
    • เอกสารสำหรับขอรับเงินสงเคราะห์
    • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีตาย (สปส. 2-01)
    • สำเนาบัตรประชาชนกับสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีสิทธิ์
    • สำเนาทะเบียนสมรสของ ผู้ประกันตน และของบิดามารดาของผู้เสียชีวิต (ถ้ามี)
    • สำเนาสูติบัตรของบุตร กรณีไม่มีสูติบัตร ให้ใช้สำเนาทะเบียนบ้านของบุตร
    • หนังสือที่ระบุให้เป็นผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตาย (ถ้ามี)
  3. เงินบำเหน็จชราภาพ 
    • จะจ่ายให้กับผู้มีสิทธิ์ คือ บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย, สามี / ภรรยาตามกฎหมาย, บิดามารดาที่จดทะเบียนสมรส ถ้าหากไม่ได้จด ทะเบียนสมรส จะได้เฉพาะมารดาเพียงคนเดียว และบุคคลอื่นที่ ผู้ประกันตน ได้ระบุไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ทั้งนี้ก็ยังมีรายละเอียดที่ต้องพิจารณาอีก 2 กรณี คือ
    • กรณีผู้ประกันตนเสียชีวิตหลังอายุ 55 ปี
    • ผู้ประกันตน รับเงินบำนาญชราภาพแล้ว และเสียชีวิตภายใน 60 เดือน นับ จากเดือนที่รับบำนาญ ทายาทจะได้รับเงินบำเหน็จ = จำนวนเงินบำนาญชราภาพเดือนสุดท้ายก่อนเสียชีวิต * จำนวนเดือนที่เหลือจนครบ 60 เดือน
    • ผู้ประกันตน กลับไปเป็นผู้ประกันตน และเสียชีวิต โดยได้รับเงินบำนาญไม่เกิน 60 เดือน ทายาทจะได้รับเงินบำเหน็จ = จำนวนเงินบำนาญชราภาพที่ได้รับก่อนกลับไปเป็นผู้ประกันตน * จำนวนเงินเดือนที่เหลือจนครบ 60 เดือน
    • ผู้ประกันตน รับเงินชราภาพ ก่อนบังคับใช้กฎกระทรวง แต่ยังไม่ครบ 60 เดือน ทายาทจะได้รับเงินบำเหน็จ = เดือนที่เหลือจนครบ 60 เดือน
    • ผู้ประกันตน รับเงินชราภาพแล้วเหลือน้อยกว่า 10 เดือน ทายาทจะได้รับเงินบำเหน็จ = จำนวนเงินบำนาญชราภาพ ที่ได้รับเดือนสุดท้ายก่อนเสียชีวิต * 10 เท่า
    • กรณีผู้ประกันตนเสียชีวิตก่อนอายุ 55 ปี
    • ผู้ประกันตน จ่ายเงินสมทบน้อยกว่า 12 เดือน ทายาทจะได้รับเงินบำเหน็จ = เงินสมทบที่จ่ายไว้
    • ผู้ประกันตน จ่ายเงินสมทบมากกว่า 12 เดือน แต่ไม่ถึง 180 เดือน ทายาทจะได้รับเงินบำเหน็จ = เงินสมทบที่ผู้ประกันตน รวมกับส่วนของนายจ้างที่จ่ายเงินสมทบไว้ให้